อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มีโครงสร้างแบบอาคารพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce Concrete Flat Slab) ซึ่งประเภทพื้นไร้คานนี้เป็นที่นิยม สามารถลดความสูงของชั้นอาคารลงได้ พื้นไร้คานเป็นโครงสร้างแผ่นพื้นซึ่งวางตั้งอยู่บนเสาโดยตรง ปราศจากคานรองรับพื้น โดยเข้าใจง่ายๆ คือ พื้นรับน้ำหนักใดๆก็ตาม ที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาโดยตรง เรียกเป็น”พื้นไร้คาน” ซึ่งควรมีความหนาขั้นต่ำ 12.5 เซนติเมตร

          การก่อสร้างประเภทพื้นไร้คาน มีจุดอ่อนที่การวิบัติซึ่งอาจทำให้อาคารทั้งหลังพังถล่มได้ จึงมีการเสริมเหล็กเพื่อป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่อง สามารถดูตัวอย่างได้ในคลิปนี้

"อาคาร LX ออกแบบเป็น RC Flat Slab เหมาะสมต่อรูปแบบเป็นอาคารปฏิบัติการ"

          จากการสัมภาษณ์คุณประพนธ์ เรืองวุฒิชนะพืช ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านบริหารอาคารและสถานที่ ทำให้เราทราบว่า อาคาร LX ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบพื้นไร้คาน เนื่องจากความเหมาะสมในการเป็นอาคารปฏิบัติงาน สามารถจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานได้อย่างอิสระ เพราะไม่มีคานเป็นตัวกำหนดแนวผนัง ปรับเปลี่ยนใช้สอยได้ทุกโอกาส มีความสวยงาน ท้องพื้นเรียบ ไม่มีคานกีดขวางแนวท่อ และมีระยะห่างระหว่างเสามาก

การแบ่งรูปแบบของพื้นไร้คาน มี 3 รูปแบบ ได้แก่
แบบที่ 1 แบบไม่มีหัวเสา เรียกว่า Flat Plate
แบบที่ 2 แบบมีหัวเสา เรียกว่า Slabs with column heads
แบบที่ 3 แบบมีหัวเสา + แป้นเสา เรียกว่า Slabs with column heads

ข้อดีด้านโครงสร้าง ค้วยความหนาของพื้นน้อยกว่าพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทำให้มีน้ำหนักรวมน้อยกว่า ลดค่าก่อสร้างของงานฐานรากลงได้ มีความต้านทานไฟไหม้ของพื้น