ช่างชักรูปสมัยแรกของสยาม

The First Group of Siamese Photographers

ปีที่เซอร์ จอห์น เบาริ่ง เดินทางเข้ามาสยามนั้นมีช่างภาพหรือผู้มีความสามารถในการถ่ายรูปไม่ต่ำกว่า 8 คนคือ

  1. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้านิลรัตน์ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
  3. นายโหมด
  4. นายสำอาง
  5. นายจิตร
  6. บาทหลวงปาลเลกัวส์
  7. บาทหลวงลาโนดี
  8. นายแพทย์เฮาส์
    (พิพัฒน์ พงศ์รพีพร 2544:31)

In the year that Sir John Bowling came to Siam. There were 8 Photographers.

  1. King Pinklao Chao Yu Hua
  2. Price Alongkot Pricha
  3. Mr. Mode
  4. Mr. Sam-Ang
  5. Mr. Chit
  6. Bishop Jean-Baptiste Pallegoix
  7. L’Abbe’ Larnaudie/Louis Larnaodie
  8. Samuel Reynolds House
    (Pipat Pongrapeeporn 2544 :31)

นายจิตร หรือ F.Chit หรือ ฟรานซิสจิตร หรือขุนสุนทรสาทิศลักษณ์

Mr. Chit or F.Chit or Francis Chit or Khun Soonthorn Sathitluck

นายจิตร หรือ F.Chit หรือ ฟรานซิสจิตร หรือขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ หรือหลวงอัคนีนฤมิตร (พ.ศ. 2376 – พ.ศ. 2434) บิดาชื่อตึง เป็นทหารแม่นปืนฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) นายจิตรเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่เวรชิตภูบาล ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) พ.ศ. 2409 มารับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ช่างถ่ายรูปขึ้นกับกรมแสง เลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป (ดูแลโรงแก๊ส)

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ในคำนำหนังสือ จดหมายเหตุแลนิราศลอนดอนหน้า 14 ว่า ผู้เรียนรู้วิชาจากฝรั่งสามารถใช้ในราชการได้ความว่า

“…มีนายจิตร ได้หัดชักรูปกับบาทหลวงลาโนดี ชาวฝรั่งเศส และได้ฝึกหัดต่อมากับทอมสัน ชาวอังกฤษที่เข้ามาชักรูป เมื่อในรัชกาลที่ 4 จนตั้งห้างชักรูปได้เป็นที่แรก แลได้เป็นขุนฉายาทิศลักษณ์…” ราชทินนามที่ถูกต้องคือ “สุนทรสาทิสลักษณ์” อันแปลว่า “ช่างทำรูปภาพอย่างดี” (อเนก นาวิกมูล 2545:94)

Mr. Chit or F.Chit or Francis Chit or Khun Soonthorn Sathitluck or Luang Akkanee Naruemit (1833-1891), his father was named Tueng, was a sniper at the Boworn Palace (Wang Na). Mr. Chit was a royal servant of Werchit Phuban. In King Pinklao Chao Yu Hua (Wang Na). In B.E. 1866, he came to serve in the service of King Mongkut. King Mongkut promoted him to be Khun Sunthon Sathitluck, then Luang Akkanee Naruemit Lord of the Lantern. (Manager of the gas plant)

Krom Phraya Damrong Rajanubha wrote in the book’s foreword The London Archives, page 14, that people who learn from foreigners can use it in official work.

“…Mr. Chit had practiced taking pictures with Reverend Lan Nadi,( the French) and later practiced with Thomson (The British) who came to take pictures when in the reign of King Rama IV, Mr. Chit established the photo studio and became Khun Chayathisalak…” The correct royal name is “Sunthorn Sadisalak” which means “good photographer” (Anek Navikamoon 2545 :94)

จอห์น ทอมสัน เมื่อจบการศึกษา ได้เข้าฝึกงานที่โรงงานผลิตเครื่องมือด้านจักษุและวิทยาศาสตร์ เขาได้เรียนรู้หลักการของการถ่ายภาพ จากนั้น วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2405 ทอมสันออกเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ ได้เปิดสตูดิโอถ่ายภาพเป็นครั้งแรกและเป็นช่างภาพเชิงพาณิชย์

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2408 ทอมสันขายสตูดิโอและเดินทางเข้าประเทศสยาม ขณะที่อยู่กรุงเทพฯ ทอมสันได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์และถ่ายรูปขุนนางชั้นสูง ภาพทิวทัศน์ของสยามและอื่น ๆ อีกมาก

When John Thomson graduated, he took an internship at an optical and scientific equipment factory. Thomson learned the principles of photography.

On April 29, 1862, Thomson left for Singapore and opened his first photography studio. He became a commercial photographer. In 1865, Thomson sold the studio and traveled to Siam. While in Bangkok, Thomson has evoked a portrait of His Majesty King Mongkut, Royal family, nobles photographed, scenery of Siam and more.

พระวิสูตร โยธามาตย์ (หรือนายโหมด อมาตยกุล) ช่างถ่ายรูปชาวสยามคนแรก

Phra Wisoot Yothamat (Mr. Mode Amatayakul) The first Siamese photographer  

นายโหมด อมาตยกุล หรือ พระวิสูตร โยธามาตย์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2362  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 3 และรับราชการจนเลื่อนขั้นเป็น “พระยากระษาปณกิจโกศล” ในสมัยรัชกาลที่ 4 ท่่านได้ชื่อว่าเป็นช่างถ่ายรูปสมัครเล่นคนแรกของสยาม  พระยากระษาปณกิจโกศลเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการถ่ายภาพแบบดาแกโรไทป์จากศิลปินผู้หนึ่งที่เดินทางมากับเอกอัครราชทูตแห่งปรัสเซีย จึงทำให้ท่านสามารถถ่ายรูปโดยใช้กล้องดาแกร์ที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ศักดา ศิริพันธุ์ 2535 :59-60) 

Mr. Mode Amatayakul or Phra Wisut Yothamatya was born in 1819, consecrated himself as a servant during the reign of King Rama III and served until he was promoted to Phraya Krasapanakitkosol during the reign of King Rama IV and was known as the first amateur photographer of Siam. Phraya Krasapanakitkosol was the recipient of a knowledge of Dagerotype photography from an artist traveling with the Ambassador of Prussia, allowing him to take pictures with a Dager camera at Queen Victoria. Delivered to His Majesty King Mongkut (Sakda Siriphan 2535 :59-60