พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก

Modernization
เข้าโลกตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม

ความเป็นมาของ
โครงการพระจอมเกล้าศึกษา

               เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (สถานะเดิมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มจธ.) เพื่อสนองความต้องการของรัฐในด้านช่างเทคนิค โดยส่วนหนึ่งได้ขยายอาณาเขตโดยใช้ที่ดินเลขที่ 108 โฉนดเลขที่ 1286 จังหวัดธนบุรี มีเจ้าของที่ดินเดิมคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเที่ยง (พระนามเดิมพระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา) พระองค์ได้รับพระราชทานโฉนดที่ดินแปลงนี้จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2447 เนื่องจากกรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐไม่มีวงศ์สายสืบสกุล สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จึงรับโอนเปลี่ยนนามเป็นเจ้าของที่ดินต่อมา ปัจจุบัน มจธ. แบ่งพื้นที่เช่าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในจำนวน 134 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา

               เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ในนาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบัน จากนั้นใน พ.ศ. 2514 รับร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระมหามงกุฎเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า   ทั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตนนทบุรีลาดกระบัง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ในปัจจุบัน) และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือ มจพ. ในปัจจุบัน) 

              ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อทั้งสามแห่งสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจึงได้รวบรวมและศึกษาค้นคว้าข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2566 มีดำริจากผู้บริหารของ มจธ. ที่ต้องการให้ริเริ่มโครงการพระจอมเกล้าศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหล่อหลอมจิตใจ และความผูกพันในสถาบันในพระนาม “พระจอมเกล้า” อีกทั้งต่อยอดให้เกิดการค้นคว้าวิจัยด้านประวัติศาสตร์ที่มาจากรากฐานของวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น ซึ่งโครงการพระจอมเกล้าศึกษาเป็นโครงการที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนถึงรากฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศไทย อันเกี่ยวเนื่องกับพระปรีชาสามารถ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลสำคัญต่างๆ แห่งรัชสมัยของพระองค์ เพื่อที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดความรู้จากแนวพระราชดำริ เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดสู่การศึกษาวิจัยให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน สามารถถ่ายทอดทั้งในรูปแบบเสวนาวิชาการ นิทรรศการ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

               จากแนวคิดดังกล่าวนี้จึงเกิดโครงการเสวนาครั้งแรกขึ้นในนามว่า “พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก : The Modernization เข้าโลกตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-12.00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาอีกสองแห่ง ได้แก่ ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ ดร.ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามุฏราชวิทยาลัย จัดดำเนินงานโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้รับเกียรติจากที่ปรึกษาอธิการบดี ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ เป็น Moderator ดำเนินการเสวนา

               หลังจากงานเสวนาดังกล่าวจึงเกิดหนังสือแบบเล่มและแบบออนไลน์ รวมทั้งสื่อโปสเตอร์ดิจิทัล 25 รายการ ดังต่อไปนี้

ชุดที่ 1 การปฏิรูปพระศาสนาและผลต่อการวางรากฐานสังคม

ชุดที่ 2 อุภโตสุชาติ การสืบราชสันตติวงศ์ และความเป็นพ่อ

ชุดที่ 3 การผูกสัมพันธไมตรีและการรู้เท่าทันชาติตะวันตก

ชุดที่ 4 ความเท่าเทียมของสตรี การค้นพบแผนที่ดาว การคิดระบบอักษรอริยกะ และเกร็ดเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์

เส้นทางโครงการในอนาคต

เกียรติภูมิ

  • หอจดหมายเหตุพระจอมเกล้าที่มีฐานข้อมูลในการรบรวมข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับรัชกาลที่ 4
  • งานปาฐกถา
  • งานนิทรรศการและกิจกรรม ในโอกาสวันสำคัญของรัชกาลที่ 4
  • พิพิธภัณฑ์สร้างปัญญา

เกียรติภูมิ

  • หอจดหมายเหตุพระจอมเกล้าที่มีฐานข้อมูลในการรบรวมข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับรัชกาลที่ 4
  • งานปาฐกถา
  • งานนิทรรศการและกิจกรรม ในโอกาสวันสำคัญของรัชกาลที่ 4
  • พิพิธภัณฑ์สร้างปัญญา

วิจัย

  • สอดคล้องกับแนวการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการสมัยใหม่ วิศวกรรมศาสตร์
  • ส่งเสริมทุนวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาและวารสารวิชาการ

วิจัย

  • สอดคล้องกับแนวการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการสมัยใหม่ วิศวกรรมศาสตร์
  • ส่งเสริมทุนวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาและวารสารวิชาการ

บริการ

  • บริการเฉพาะทาง ห้องสมุดในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • หอจดหมายเหตุที่เผยแพร่สื่อรูปภาพ เอกสาร เสียง แผนที่ ฯ

บริการ

  • บริการเฉพาะทาง ห้องสมุดในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • หอจดหมายเหตุเผยแพร่สื่อรูปภาพ เอกสาร เสียง แผนที่ฯ

ภาคีเครือข่าย

  • สถาบันภายใต้พระนาม "พระจอมเกล้า" ได้แก่ สจล. มจพ. มจธ.
  • สถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และอื่น ๆ
  • สถาบันที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น วัดราชาธิวาสวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดบวรนิเวศวิหาร

ภาคีเครือข่าย

  • สถาบันภายใต้พระนาม "พระจอมเกล้าฯ" ได้แก่ สจล. มจพ. มจธ.
  • สถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และอื่น ๆ
  • สถาบันที่เกี่ยวข้องกับพระจอมเกล้าฯ วัด เช่น วัดราชาธิวาสวรวิหาร วัดราชประดิษฐ์ฯ วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดบวรนิเวศวรวิหาร

กลุ่มเป้าหมาย

การประชาสัมพันธ์

Application

E-mail

Facebook