ดังโงะในแต่ละยุคสมัย

             หน้าตาของขนมเสียบไม้ลูกกลมๆ บ้างมี 3 ลูก บางแบบมีไม้ละ 4 ลูก ราดซอสเหนียวๆ พอกินแล้วมีสัมผัสเหนียวนุ่มลิ้น เราเรียกกันติดปากว่า “ขนมดังโงะ เคยทราบหรือไม่ว่า มีที่มาอย่างไร เชิญติดตามข้อมูลด้านล่างที่บอกถึงที่มาของ “ขนมดังโงะ” ในแต่ละยุคได้เลย

ยุคเฮอัน 

(ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185)

       เนื่องจากญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนในช่วงศตวรรษที่ 7-9 เป็นอย่างมาก คนญี่ปุ่นในยุคเฮอันนิยม้ไปเล่าเรียนที่เมืองถัง (จีนในสมัยก่อน) และเมื่อกลับสู่ประเทศญี่ปุ่น ็ได้นำขนมเซ่นไหว้ของประเทศจีนกลับมาด้วย ขนมนั้นมีชื่อว่า ดังกิ หรือ ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งมีที่มาจาก ขนมโมทกะ ของประเทศอินเดีย เมื่อคนญี่ปุ่นเห็นขนมดังกล่าวจึง้เรียกขนมนั้นว่า “ดังโงะ” (ในยุคเฮอันคำว่าดังโงะ จะอ่านว่า ดังสุ) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางวรรณกรรมเรื่อง ชินซารุงาคุกิ (新猿楽記) ที่กล่าวถึงคำว่า “ดังโงะ” ่ในยุคเฮอันอีกด้วย

       ปรากฏข้อมูลจากเว็บไซต์ Marumura ว่ามีการนำขนมดังโงะไปเซ่นไหว้พระจันทร์ในเทศกาลชมพระจันทร์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ โดยนำดังโงะประมาณ 15 ลูกมาวางเรียงซ้อนเป็นชั้นคล้ายพีระมิด จากความเชื่อว่าการวางเรียงเป็นทรงสูงจะทำให้เข้าใกล้กับพระจันทร์มากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นเรียกดังโงะเซ่นไหว้นี้ว่า “ทสึคิมิดังโงะ (Tsukimi Dungo)” แปลตรงตัว ว่า “ดังโงะไหว้พระจันทร์”

ยุคมุโรมาจิ

(ค.ศ. 1336 – ค.ศ. 1568)

       “มิตาราชิดังโงะ (Mitarashi Dango)” เป็นดังโงะรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคมุโรโมจิ มีต้นกำเนิดจากร้านน้ำชาคาโมะมิตาราชิในจังหวัดเกียวโต จัดทำขึ้นเพื่อเป็นของเซ่นไหว้เทพเจ้าและเฉลิมฉลองในงาน “เทศกาลอาโออิ (Aoi Matsuri)” ในศาลเจ้าชิโมะกาโมะ จังหวัดเกียวโต

        มิตาราชิดังโงะ เป็นดังโงะที่เสียบไม้มีทั้งหมด 5 ลูกมีปรากฏเรื่องเล่าที่เกี่ยวโยงกับมิตาราชิดังโงะจากเว็บไซต์ Wikipedia ว่า ีกษัตริย์องค์หนึ่งมีนามว่า จักรพรรดิโกะไดโงะ ได้มาเยี่ยมชมที่ศาลเจ้าชิโมะกาโมะ ขณะที่ท่านตักน้ำมนต์จากบ่อน้ำมิตาราอินั้น มีฟองอากาศค่อยๆลอยขึ้นมารวมเป็นทั้งหมด 5 ฟอง มิตาราชิดังโงะจึงมีทั้งหมด 5 ลูกตามฟองอากาศที่ลอยออกมานั่นเอง

        และยังมีความเชื่ออีกว่า ดังโงะทั้ง 5 ลูกของมิตาราชิดังโงะนั้น เปรียบเสมือนตัวแทนของร่างกายคน โดยลูกที่บนสุดเป็นตัวแทนของส่วนหัว สองลูกถัดมาเป็นตัวแทนของแขนทั้งสองข้าง และสองลูกสุดท้ายเป็นตัวแทนของขาทั้งสองข้าง ถ้านำดังโงะไปบวงสรวงเทพเจ้าแล้ว ดังโงะจะรับเคราะห์ร้ายแทนเจ้าตัวผู้ที่บวงสรวง

ยุคเอโดะ

(ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1867)

        ความเจริญทางสติปัญญาและวิชาการในศตวรรษที่ 17 แพร่หลายมากขึ้น จากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ทรงอิทธิพล (ไดเมียว) กับบริวารที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาพำนักที่เอโดะ จึงถือว่า ยุคเอโดะเป็นยุคที่วัฒนธรรมจากชนชั้นสูงได้เผยแพร่สู่ชนชั้นล่าง เพราะเป็นเป็นยุคที่วัฒนธรรมและธรรมเนียมต่าง ๆ แพร่หลายสู่ประชาชน  ดังนั้น อาจจะเพื่อให้รสชาติของดังโงะเป็นที่ถูกปากมากขึ้น จึงมีการคิดค้นดังโงะรสหวานหรือแบบต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อการค้าขาย แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีเอกสารหรือหลักฐานที่บอกได้อย่างชัดเจนว่าดังโงะรสหวานนั้นเกิดขึ้นเพื่ออะไร เป็นเพียงข้อสันนิษฐานหนึ่งเท่านั้น

        ฮานามิดังโงะ  คือหนึ่งในดังโงะที่เกิดขึ้นในยุคเอโดะ ปรากฏครั้งแรกที่งานเลี้ยง ไดโกะ โนะ ฮานามิ (Daigo no Hanami) ในช่วงเทศกาลฮานามิ ที่ไดเมียว ฮิเดโยริ โตโยโตมิ  จัดขึ้น

        นอกจากนี้ยังมี “คิบิดังโงะ” ที่หลาย ๆ คนรู้จักจากนิทานชื่อดังเรื่อง โมโมทาโร่ ได้ถูกคิดค้นในยุคเอโดะเช่นกัน ช่วงปีที่คิดค้นไม่สามารถระบุปีที่แน่นอนได้แต่สำหรับสถานที่คิดค้น เชื่อกันว่า คิบิดังโงะ ถูกจัดทำขึ้นใกล้บริเวณ“ศาลเจ้าคิบิทสึ” จากแคว้นคิบิ ในจังหวัดโอคายามะ เพื่อเป็นของเซ่นไหว้ให้กับเทพเจ้าประจำศาลเจ้า ตามทฤษฎีในหนังสือเรื่อง “ประวัติศาสตร์ของจังหวัดโอคายามะ (Okayama ken no rekishi)” ของศาสตราจารย์ ซูมิโอะ ทานิกุชิ จากมหาวิทยาลัยโอคายามะ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ รวมถึงหลักฐานจากหนังสือเรื่อง “ยามาชินาเกะราอิกิ (Yamashinake raiki)” และพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น – โปรตุเกส ที่ชื่อว่า “นิปโปะ จิโช (Nippo Jisho)” ที่มีการกล่าวถึงคำว่า คิบิดังโงะ ที่หมายถึง ดังโงะข้าวฟ่าง ทั้งสองเล่ม

อ้างอิง

ไรเชาเออร์, เอ็ดวิน โอ. ญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2531.
ไอซึ, 2562, ดังโงะ (Dango) ขนมโบราณที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานับร้อยปี [Online], Available: https://www.marumura.com/dango/
ANNGLE, 2564, คิบิดังโงะ (黍団子) หรือ “คิบิดังโงะ (吉備団子)” เรื่องของขนมที่ถูกเอามาโยงกับนิทานโมโมทาโร่ [Online], Available: https://today.line.me/th/v2/article/qpe5BG [2 กันยายน 2565]
KIJI, 2565, รู้จักกับ “เทศกาลฮานามิ” ฤดูแห่งซากุระบานสะพรั่ง พร้อมกับแนะนำสูตรอาหารเพิ่มความสดชื่น [Online], Available: https://kiji.life/hanami-ufm-fuji-super/ [2 กันยายน 2565]
Lauren Kim, 2563, The world of Japanese dango [Online], Available: https://www.kyotojournal.org/tea-food-2/the-world-of-japanese-dango/ [2 กันยายน 2565]
Mitsubaschi, 2560, มิทาราชิ ดังโงะ [Online], Available: https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=mitsubachi&month=03-2015&date=15&group=336&gblog=1 [2 กันยายน 2565]
Wikipedia, 2565, 団子 [Online], Available: https://ja.wikipedia.org/wiki/%E5%9B%A3%E5%AD%90?_trms=0cf5aafc42227f6e.1661323494117 [2 กันยายน 2565]
Wikipedia, 2565, みたらし団子 [Online], Available: https://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%81%BF%E3%81%9F%E3%82%89%E3%81%97%E5%9B%A3%E5%AD%90 [2 กันยายน 2565]
TU KEIZAI-MAN, 2564, ความเป็นมาของขนมดังโงะ และเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น [Online], Available: https://th.anngle.org/j-gourmet/sweet-dessert/history-of-dango.html?_trms=dbd781adc33cfa56.1660702433394 [2 กันยายน 2565]