สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

บทที่ 3 ราชวงศ์อลองพญา และการยกทัพมาตีไทย

แผนที่ประเทศพม่า
(จากหนังสือมหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า
คัดลอกมาจาก A Wonderland of Burmese Legends )
พระราชวังมัณตะเลย์
(ภาพจาก www.ayeyarwady.com/ Photo-e/old_burma/sh042101.htm , 20/7/2547)

3.1 กษัตริย์พม่าที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2307 เป็นใคร และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ?

แผนที่ประเทศพม่า (จากหนังสือมหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า)

กษัตริย์ที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 นั้นคือ พระเจ้ามังระ (พ.ศ. 2306-2319)      อยู่ในราชวงศ์อลองพญา ซึ่งกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ทั้งสิ้น 11 พระองค์คือ

  • 1. อลองพญา (Alaungpaya) พ.ศ. 2254-2303
  • 2. มังลอก หรือมังลอง หรือนองดอคยี (Naugdawgyi) พ.ศ. 2303-2306 หรือ เนาดอกะยี
  • 3. มังระ หรือสินปยูชิน หรือ ชินบยูชิน (Hsinbyushin) พ.ศ. 2306-2319 (แปลว่า พระเจ้าช้างเผือก) หรือ มะเยดูเม็ง หรือ เฉ่งพะยูเช้ง (เป็นอนุชาของมังลอก) (ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาและกู้คืนได้)
  • 4. จิงกูจา หรือสิงคุสา (Singu) พ.ศ. 2319-2324 ( ไทยว่างศึก 10 ปี )

หมายเหตุ
พระเจ้าอลองพญา ก่อนทิวงคตได้ออกพระโอษฐ์ยกราชสมบัติ แก่โอรสทุกๆ พระองค์ โดยพลัดกันขึ้นครองตามอาวุโส แต่พระเจ้ามังระไม่ทำตามราชโองการ กลับยกราชสมบัติให้จิงกูจา (สิงคุสา) ราชบุตร ทั้งที่พระเจ้ามังระมีพระอนุชาอีก 4 องค์ คือ 1) มังโปตะแคงอะเบียง 2) มังเวงตะเคงปะดุง 3) มังจูตะแคงพุกาม 4) มังโกเชียง ตะแคงแตงตะแล จิงกูจาจับอาชื่อ มังโปตะแคงอะเมียงฆ่าเสีย และควบคุมเจ้าอาอีก 3 องค์ไว้หัวเมือง แล้วพาลหาเหตุถอดอะแซหวุ่นกี้จากตำแหน่ง จิงกูจาโปรดสำมะเลเทเมาด้วยสุรานารี คราวหนึ่งเสวยน้ำจัณฑ์เมามาก พระสนมเอกทำขัดพระทัยขึ้นมาก็ให้เอาตัวไปถ่วงน้ำเสีย และให้ถอดยศอะตวนหงุ่นบิดาพระสนมองค์นั้นลงเป็นไพร่ อะตวนหงุ่นผูกใจเจ็บจึงไปคิดกับเจ้าตะแคงปะดุง จับพระเจ้าจิงกูจาพิฆาต เจ้าตะแคงปะดุงขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่า พระเจ้าโกรนาพญาปะดุงมินตะคะยี http://www.worldbuddhism.net/buddhism-history/Burma.html , 14/7/2547)

  • 5. มังหม่อง (Maung Maung) พ.ศ. 2324-2324
  • 6. ปดุง หรือโบดอพญา (Bodawpaya) พ.ศ. 2324-2362 ( เริ่มสงครามกับไทย พ.ศ. 2328 เรียกสงครามเก้าทัพ )

หมายเหตุ
พระเจ้าปะดุงมิน นับว่าเป็นมหาราชองค์สุดท้ายของพม่าก็ว่าได้ เมื่อเสวยราชย์แล้วได้ย้ายราชธานีมาอยู่ เมืองอมรปุระ ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ แล้วยกกองทัพไปปราบมณีปุระ เสด็จเข้าไปตีประเทศยะข่ายได้ในปี พ.ศ.2328 ซึ่งเป็นปีที่สร้างกรุงเทพฯ ศึกยะข่ายครั้งนี้ พม่าได้อัญเชิญพระพุทธรูปศรีเมืองยะข่ายเข้ามาองค์หนึ่งคือ พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 5 ศอกคืบ สร้างมาแต่พ.ศ.689 ในแผ่นดินพระเจ้าจันทรสุริยะกษัตริย์ตะข่ายครองเมือง ธรรมาวดีนคร มหาราชพม่าในปางก่อน เช่น พระเจ้าอโนรธา เพียรจะอัญเชิญเข้ามาก็พอดีมีอุปสรรค ครั้งนี้ได้ใช้วิธีการถอดพระองค์ออกเป็น 3 ท่อน

ตะเข้ หรือตะเฆ่ ( wheeled handcart)
( ภาพจาก http://www.cd-ironworkers.co.uk/misc/trolley2-50.jpg )

ครั้งนี้ได้ใช้วิธีการถอดพระองค์ออกเป็น 3 ท่อน แล้วเอาขึ้นตะเข้ (หรือตะเฆ่ หมายถึง เครื่องลากหรือเข็นของหนัก รูปร่างเตี้ยๆ มีล้อ โบราณใช้คนลากหรือเข็น เพื่อเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมาก เช่น ตะเฆ่ สำหรับลากเรือขนาดใหญ่ขึ้นจากน้ำคายเรือ หรืออู่เรือ ; วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2546 : 165) ลากข้ามภูเขาเข้ามา พระเจ้าปะดุงโปรดให้สร้างวิหารขึ้นไว้บูชา พระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่นับถือของชาวพม่า ยิ่งกว่าพระพุทธรูปทั้งปวงในประเทศพม่ามาจนทุกวันนี้ ( http://www. Worldbuddhism .net/buddhism-history/Burma.html , 14/7/2547)

  • 7. จักกายแมง หรือพคยิดอ (Bagyidaw) พ.ศ. 2362-2380
  • 8. แสรกแมง หรือธาราวดี (Thrrawaddy Min) พ.ศ. 2380-2389
  • 9. พุกาม (Pagan Min) พ.ศ. 2389-2396                     
  • 10. มินดง (Mindon Min) พ.ศ. 2396-2421
พระเจ้ามินดง
(ภาพจากหนังสือไทยเที่ยวพม่า)
ภาพกษัตริย์ออกว่าราชการบนพระแท่นสิงหาสน์
( ภาพจาก http://www.4dw.net/royalark/Burma/burma.htm )
  • 11. ธีบอ หรือสีป่อ (Thebaw) พ.ศ. 2421-2428 (ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี และนางวิมล พงศ์พิพัฒน์ , ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-3          (พ.ศ. 2325-2394), 2523 : 37)
เจ้าหญิงพม่า
พระเจ้าสีป่อ และพระนางศุภยลัต
(ภาพจากหนังสือพม่าเสียเมือง)
นางพระกำนัลสมัยพระเจ้าสีป่อ
(ภาพจากหนังสือ พม่ารบไทย และพม่าเสียเมือง)

ราชวงศ์อลองพญา ( Alungpaya Dynasty)

1. Alaungpaya

1711-1760

2. Naugdawgyi

3. Hsinbyushin

6. Bodawpaya

1736 – 1776
1736 – 1776
1745 – 1819

5. Maung Maung

4. Singusa

Insae

1763 -1782
1756 – 1782
1762 – 1808

8. Tharawaddy

1786 – 1846
1786 – 1846

7.Bagyidaw

1784-1846

9. Pagan

Kanuang

10. Mindon

1811-1881
1819-1866
1814 -1878

Limbin

11.Thibaw

Son

+ 1933
1858-1916

Son

Son

Richard Limbin

Thura Limbin

Maung Maung U

Maung Maung Gyi

1902-
แผนที่แสดงที่ตั้งบ้านมุตโชโบ เดี๋ยวนี้เรียกว่า ชเวโบ ซึ่งขนานนามว่า รัตนสิงห์ และเมืองอังวะ (ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยา )

ราชวงศ์อลองพญา ( คำว่า อลองพญา แปลว่า พระโพธิสัตว์ (ทวน บุณยนิยม, 2513 : 34)
พงศาวดารหอแก้วเล่าเรื่องราชวงศ์อลองพญา ซึ่งพระเจ้าอลองพญาสถาปนาขึ้นไว้ว่า มังอองไจยะ ( ออง แปลว่า ชนะ ไจยะก็คือ ไชยะ พม่าเรียก มอง อองเซยะ ) ถือกำเนิดในสกุลพรานทางเหนือกรุงอังวะ

มังอองไจยะได้เป็นกำนันของหมู่บ้านชเวโบ หรือมุคโชโบ แปลว่า บ้านนายพราน หรือมุคไชโบ ( พม่าเรียกมอคโชโบ ต่อมาเป็นเมืองชื่อรัตนสิงห์ ) ห่างจากเมืองอังวะประมาณ 2,000 เส้น (97.53 กิโลเมตร) มีพลเมืองประมาณ 200 ครอบครัว เล่ากันว่า มังอองไจยะ เป็นผู้มีฝีมือเข้มเข็ง และใจคอกล้าหาญ รู้เวทมนต์คาถาและตำรับพิชัยสงคราม มีผู้คนเคารพเชื่อฟังมาก พอมอญเป็นใหญ่ขึ้นในกรุงอังวะก็ส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บส่วยสาอากรตามปกติ มังอองใจยะก็รวบรวมลูกน้องเพื่อนฝูงเข้าต่อสู้ฆ่ามอญตายหมด มอญยกมาปราบกี่ครั้งก็พ่ายแพ้ไปสิ้น (เชาว์ รูปเทวินทร์, 2528 : 638)

เมื่อ พ.ศ. 2257 มังอองไจยะเริ่มต่อต้านมอญ โดยรวบรวมพรรคพวกได้ประมาณ 40 คน ปล้นกองมอญที่มาเก็บส่วย (จรรยา ประชิตโรมรัน , 2536 : 4) ตั้งแต่ พ.ศ. 2295 เป็นต้นมา มังออง-ไจยะได้สร้างวีรกรรมในการรบชนะมอญมากขึ้น ดึงดูดให้ชาวพม่าเริ่มเข้ามาสมทบมากเข้า ในปี พ.ศ. 2296 เดือนอ้าย มังอองไจยะตีได้เมืองอังวะ ในเวลา 3 ปีต่อมาคือ พ.ศ. 2298 มังอองไจยะได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์พม่านามว่า อลองมินตยาคยี (ชูสิริ จามรมาน , 2527 : 61) และทรงยึดเมืองดากอน ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลได้จากพวกเตลง ( มอญ ) และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นร่างกุ้ง และทรงตั้ง เมืองรัตนสิงห์ (หรือที่ไทยเรียกว่า กรุงรัตนปุระอังวะ) เป็นราชธานี และภายในเวลา 2 ปี ก็ทรงปราบปรามบ้านเมืองทางเหนือ เช่น พะสิม สิเรียม จนมายึดได้กรุงหงสาวดี (พ.ศ.2300) รายละเอียดดังนี้

พระเจ้าหงสาวดีเกรงขามพระเจ้าอลองพญาจึงยอมส่งพระราชธิดาชื่อ เม้ยคุ้ม ซึ่งเป็นคู่หมั้นของสมิงตะละปั้นมาก่อนถวายอลองพญา สมิงตะละปั้นโทมนัส จึงพาพวกพ้องออกจากเมืองหงสาวดีไป ส่วนอลองพญาเมื่อได้ราชธิดาแล้วก็เรียกร้องนายทหารตัวสำคัญๆ ของมอญมาไว้เป็นตัวจำนำ พระเจ้าหงสาวดีไม่ยอมให้ พระเจ้าอลองพญาทรงขัดเคืองมาก จึงเกิดสงครามอีก ในที่สุดหงสาวดีก็แตกในปี พ.ศ.2300 อลองพญาให้เผาทั้งเมือง หลังจากเผาหงสาวดีแล้ว ทรงกวาดต้อนคนมอญขึ้นไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก เอาตัวไปไว้ที่เมืองอังวะ (รัตนสิงห์) ตั้งแต่นั้นชาติมอญก็ล้มถูกชาติพม่ากลืนหมด เป็นอันว่าเอกราชของมอญครั้งสุดท้ายมีอายุเพียง 7 ปีเท่านั้น ( http://www.worldbuddhism.net/buddhism-history/Burma.html , 14/7/2547)

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองสิเรียม
(ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ พ.ศ.2310)

ขณะนั้นมีขุนนางมอญซึ่งเคยเป็นแม่ทัพของพระยาหงสาวดีที่ยังหลบหนีอยู่ เห็นได้ทีจึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าปล้นเมืองสิเรียม แม่ทัพพม่าที่อยู่ใกล้เคียงทราบเรื่องจึงนำกำลังจะมาตีเอาเมืองคืน พญามอญเห็นสู้ไม่ได้ก็รวบรวมทรัพย์สมบัติโดยสารเรือฝรั่งเศสหนีไปจากเมือง ว่าจะไปเมืองปอนดิเชอรี แต่เรือถูกพายุพัดมาทางฝั่งตะวันออก มาอาศัยซ่อนเรือที่เมืองมะริดในแดนไทย พม่ามีหนังสือถึงพระยาตะนาวศรีว่า พระยามอญเป็นกบฏ ฝรั่งพาหนี ขอให้ไทยจับตัวส่งทั้งตัวคนและเรือด้วย ไทยตอบว่าเรือฝรั่งถูกพายุ มาขออาศัยซ่อมแซมที่เมืองมะริด ไม่มีเหตุอันใดที่จะจับกุม เรือ

ซ่อมเสร็จแล้ว ไทยก็ปล่อยไป พระเจ้าอลองพญาทราบความก็ขัดเคืองไทย แต่ยังนิ่งอยู่ (จรรยา ประชิตโรมรัน, 2536 :4 ) ส่วนสมิงทอหนีไปเชียงใหม่ พระเจ้าอลองพญาทรงบุกตะลุยหัวเมืองมอญที่ห่างทะเลเข้ามาชิดแดนไทย จนล้ำเข้าไปยึดครองหัวเมืองมอญที่เป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ทวาย มะริด ตะนาวศรี และเมืองเล็กๆ ในบริเวณนั้น มอญต้องหลบหนีเข้ามาพึ่งไทยเป็นอันมาก เพราะอาณาจักรมอญแตกสลายตกไปอยู่ใต้อิทธิพลพม่า ส่วนเจ้าเมืองเมาะตะมะและขุนนางมอญ ตลอดจนเจ้าฟ้าเมืองต่างๆ ในแคว้นไทยใหญ่ ได้นอบน้อมต่อพระเจ้าอลองพญาเช่นเดียวกัน พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการ เช่น ม้า ผ้าอย่างดี และเครื่องหอม เป็นต้น ( อนึ่งควรสังเกตว่า พระเจ้าอลองพญาพยายามตัดทอนกำลังของมอญ เช่น ให้ทำลายเมืองพโค (Pegu) เพื่อมิให้พวกกบฏได้ใช้เป็นที่พักพิงอาศัยและป้องกันตนเอง )) แล้วก็เสด็จไปยังเมืองร่างกุ้ง (Yangon) ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นและเดินทางกลับกรุงรัตนสิงห์

พระเจ้าอลองพญาทรงมีกำลังวังชามากกว่าคนธรรมดา ประกอบกับประสบความสำเร็จในการปราบพวกมอญ จึงทรงพักผ่อนเพียงหนึ่งปี แล้วยกกองทัพไปปราบพวกมณีปุระอย่างโหดร้าย เช่น ราษฎรกว่า 4,000 คน ไม่ยอมออกจากหมู่บ้านของตนตามรับสั่ง พระองค์จึงทรงมีบัญชาให้จับผู้ชายในหมู่บ้านนั้นทั้งหมดไปประหารชีวิตเสีย ส่วนตำแหน่งเจ้าเมืองมณีปุระนั้น พระองค์ทรงมอบให้แก่อำมาตย์ของเจ้าฟ้ามณีปุระ ( ที่หลบหนีเข้าป่าไป ) พร้อมกับให้ปักศิลาจารึกหลักหนึ่งไว้ในใจกลางเมือง บัญญัติว่า “ ทายาทที่สืบเชื้อวงศ์เท่านั้นจะมีสิทธิเป็นเจ้าฟ้า ” เสร็จแล้วพระองค์เสด็จกลับราชธานี ( เมืองรัตนสิงห์ )

ในปี พ.ศ.2302 ได้เสด็จไปร่างกุ้งอีก เพื่อไปประกอบพิธีอุทิศศาลา ซึ่งทรงสร้างอุทิศถวายพระ      เจดีย์ชเวดากอง พระองค์ได้เสด็จโดยกระบวนทัพที่เดินทางทั้งทางบก และทางเรือ โดยให้เจ้าฟ้าและเจ้าผู้ครองนครแคว้นต่างๆ คุมทัพ ซึ่งในจำนวนนี้มีหน่วยทัพใหญ่ 13 หน่วย ได้เดินทางทางบกผ่านเมืองตองอู พระราชโอรสองค์ที่สองคือ ศิริธรรมราชา ( ไทยเรียกมังระ ) นั้น ทรงคุมกองเรือซึ่งมีขนาดใหญ่ 300 ลำ มีกำลังพล 10,000 คน พระเจ้าอลองมินตยาคยีเองทรงนำทัพ 24 หน่วย มีกำลังพล 24,000 คน โดยมีเรือใหญ่ 600 ลำ ทั้งนี้ทรงตั้งมินกองนรธา เป็นแม่ทัพรอง และให้ทหารรักษาพระองค์ชาวปอร์ตุเกสติดตามพระองค์อย่างใกล้ชิด ทัพหลังมี 10 หน่วย

ซึ่งครึ่งหนึ่งมีกำลังพล 5,500 คน เรือขนาดใหญ่ 100 ลำ ทรงให้โอรสองค์ที่สาม คือ เจ้าธาโด มินฮลาดยอว์ เจ้าเมืองอเมียง ( ไทยเรียกมังโป ) เป็นแม่ทัพ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งทรงให้โอรสองค์ที่สี่ คือ เจ้าธาโด มินซอว์ เจ้าเมืองปดุง ( ไทยเรียก มังเวง ) เป็นแม่ทัพ (ชูสิริ จารมาน , 2527 : 62)

เรือรบพม่า (ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย)

3.2 ทำไมพม่าสมัยพระเจ้าอลองพญาจึงมาตีกรุงศรีอยุธยา ?

ภายหลังการฉลองศาลาที่พระเจดีย์ชเวดากองใน พ.ศ. 2302 พระเจ้าอลองพญาทรงได้ข่าวว่า ไทยได้บุกรุกดินแดนทวาย และยึดเรือพม่าไว้ ลำ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงพระพิโรธ เพราะว่าเป็นการสบประมาทต่ออำนาจและศักดิ์ศรีของพระองค์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จะยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา แต่บังเอิญให้มีอาเพท เกิดฟ้าผ่าลงกลางเมือง 7 ครั้ง โหรได้ทูลทัดทานว่าเป็นทุนิมิต ทิศที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาเล่าก็เป็นกาฬกิณีกับดวงกำเนิดของพระเจ้าอลองพญา ( http://www.worldbuddhism .net/ buddhism-history/Burma.html , 14/7/2547) และอำมาตย์ใกล้ชิดกราบทูลคัดค้านว่า ตามดวงพระชะตาของพระองค์นั้น พระองค์กำลังโชคร้าย พระองค์ไม่ทรงฟังเสียงคัดค้านแต่อย่างใด ได้ยกทัพพม่ามาทางเมืองเมาะตะมะ และเมืองเมาะลำเลิง (Mawlamuaing มะละแหม่ง ) แล้วรุกลงมาทางเมืองทวายและเมืองมะริด (Myrik) และเมืองตะนาวศรี พม่ายกกองทัพเข้าตีเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีได้อย่างง่ายดายจนพม่าเองก็แปลกใจ รู้สึกว่าไทยอ่อนแออย่างไม่น่าเชื่อ พระเจ้าเอกทัศน์ส่งกองทัพออกไปตั้งรับพม่า 2 กองทัพคือ กองทัพพระยายมราช ยกไปตั้งที่ “ แก่งตุ่ม ” ( เชื่อกันว่าอยู่ต้นแม่น้ำตะนาวศรีในเขตพม่า ) กองทัพพระยารัตนาธิเบศร์ยกไปรับที่กุยบุรี เมื่อพม่าตีได้เมืองทั้งสามของไทยแล้ว จึงเดินทัพเข้าหากองทัพพระยายมราชที่แก่งตุ่ม พม่าใช้ความพยายามไม่มากนัก กองทัพพระยายมราชก็แตกง่ายดาย

แผนที่แสดงเมืองมะริด ตะนาวศรี
(ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2)
แผนที่สังเขปแสดงการรบของกองอาทมาตที่อ่าวหว้าขาว พ.ศ.2302
(ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310)

พระยารัตนาธิเบศร์อยู่ที่เมืองกุยบุรีทราบว่า กองทัพพระยายมราชแตก จึงส่งขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญนายกองอาทฆาตนำกำลัง 400 คนไปตั้งรับพม่าที่ “ หาดหว้าขาว ” ชายทะเล ฝ่ายพม่าเมื่อตีกองทัพพระยายมราชแตกกระเจิงไปแล้ว ก็ยกทัพผ่านด่านสิงขรเข้ามาด้วยความลำพองใจ

แตงดาหมิ่นกี้
                     กินหวุ่นหมิ่นกี้ (ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย                      : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า )
ขุนนางผู้ใหญ่พม่ากับทนาย
                                   (ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย :                                         ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า )
ไพร่ราบ และทหารม้าติดเกราะสมัยคอบอง ตามด้วยกลุ่มทหารถือหอกซัด (ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยรบพม่า)
                                                ดาบพม่า (ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย                                                 : ว่าด้วยการสงคราม ระหว่างไทยกับพม่า )
นักโทษพม่าสมัยพระเจ้าสีป่อ
(ภาพจากหนังสือพม่าเสียเมือง)
ภาพแสดงพันธนาการ และการกวาดต้อนเชลย ของทหารพม่า
(ภาพจากหนังสือมหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า)

ขุนรองปลัดชู เป็นทหารกระหายศึก นำทหารอาทฆาตรออยู่ที่ “ หาดหว้าขาว ” ฝ่ายหนึ่งลำพองใจ อีกฝ่ายหนึ่งกระหายศึก เมื่อเจอกันเข้าจึงนองเลือด ทหารไทย 400 คน กับทหารพม่า 8,000 คน รบกันตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง พม่าถูกฆ่าล้มตายทับถมกันดั่งขอนไม้ แต่ก็หนุนเนื่องกันเข้ามาไม่ขาดสายอย่างไม่ย่อท้อ เพราะถือว่ามีกำลังพลเหนือกว่าหลายสิบเท่า ทหารไทยเหนื่อยล้าลงทุกทีๆ จนในที่สุดขุนรองปลัดชูก็ถูกพม่าจับเป็นเชลย แต่ท่านอยู่ยงคงกระพัน จะแทงฟันอย่างไรก็ไม่เข้า เมื่อตัวนายถูกจับ ไพร่พลก็เสียขวัญ พม่าเห็นได้ที ส่งกองทัพช้างซึ่งรออยู่แล้วเข้าเหยียบย่ำ ทหารไทยก็แตกพ่ายไม่เป็นกระบวน พระยารัตนาธิเบศร์ได้รับแจ้งก็ตกใจกลัว เลิกทัพหนีมากับทัพพระยายมราช พม่าได้เมืองกุย เมืองปราณ เมืองชะอำ เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี จนถึงเมืองสุพรรณบุรีโดยไม่ต้องออกแรง (นิยม สุขรองแพ่ง , 2529 : 104-105)

ข้อพิจารณา
          1. การรบที่เมืองราชบุรีนั้น ฝ่ายไทยมีกำลัง 20,000 คน เป็นทหารที่มาจากเมืองกาญจนบุรี และจากเพชรบุรี แต่ฝ่ายพม่าทราบแต่เพียงว่าผู้บังคับหน่วยชื่อ มังฆ้องนรธา มีกำลังเท่าไหร่ไม่อาจยืนยันได้เพราะแต่เดิมนั้น เมื่อครั้งตีเมืองมะริดและตะนาวศรีมีกำลัง 8,000 คน แต่เมื่อพระเจ้าอลองพญาสั่งจัดทัพใหม่ไม่ทราบว่าจะทรงเพิ่มเติมกำลังให้กับหน่วยนี้ซึ่งรุกล้ำหน้ามาแล้วนี้อีกเท่าใด แต่ถ้าเป็นอย่างที่ทราบมาแล้วก็เป็นที่น่าเสียใจว่า ทหารไทยตั้ง 20,000 คน ไม่สามารถต้านทหารพม่าเพียง 8,000 คนและกำลังเพิ่มเติมได้ น่าจะได้หน่วงเหนี่ยวให้ข้างหลังได้มีเวลาในการเตรียมการนานขึ้น
          2. การรบที่เมืองราชบุรีนี้เมื่อพิจารณาแล้วน่าจะเป็นการรบของกองรักษาด่านทั่วไป ไม่น่าจะทำการรบจนกระทั่งถึงแตกหัก ควรจะได้ถนอมกำลังไว้โดยหลีกเลี่ยงการรบที่รุนแรง และถอยกลับเข้าหาส่วนใหญ่เป็นขั้นๆ เพื่อร่วมกันกับส่วนใหญ่ทำการรบแตกหักต่อไป
          3. การเตรียมการของพระเจ้าอุทุมพรหลังจากที่เมืองราชบุรีแตกแล้วนั้น นับว่าฉุกละหุกมาก งานบางอย่างเช่น ในการเตรียมป้อมปราการ สร้างกำแพงเมืองขึ้นอีกชั้นหนึ่งนั้นคงเป็นงานที่ต้องใช้เวลานาน ไม่อาจเสร็จในเร็ววันได้ คงต้องใช้วิธีเวลาสู้ไป สร้างไปด้วย
          4. การที่พม่ามาหยุดพักเพื่อรอกำลังและรวมพลที่สุพรรณบุรีหลายวันก็ทำให้ไทยได้มีเวลา และพื้นที่ในการปฏิบัติการมากและนานขึ้น เพราะในตอนนี้ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับกรุงศรีอยุธยา

หมายเหตุ พื้นที่ระหว่างสุพรรณบุรี และป่าโมกไม่ถูกต้องตามมาตราส่วน แผนที่สังเขปแสดงการรบ ที่เมืองราชบุรีเมื่อฝ่ายพม่าเคลื่อนที่ติดตามเข้ามา และการจัดกำลังตั้งรับพม่าที่เมืองสุพรรณบุรี พร้อมกับการรบที่ทุ่งตาลาน (ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310)

การรบที่ทุ่งตาลาน สุพรรณบุรี พ.. 2302)

สถานการณ์ต่อ พระเจ้าอลองพญาเคลื่อนที่มาถึงสุพรรณบุรีแล้ว ก็หยุดพักรวมอยู่หลายวัน และรอกำลังเพิ่มเติมให้มาถึง เพราะเห็นว่ากำลังพลที่มีอยู่ไม่พอที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

การรบ พอพระเจ้าอลองพญารวบรวมพลได้พอแล้ว ก็นำกำลังเคลื่อนที่ต่อเข้ามาอีก มาปะทะกำลังของเจ้าพระยามหาเสนา ที่วางกำลังสกัดอยู่ริมแม่น้ำจักราช ในทุ่งนาตาลานหลายแห่ง มังฆ้องนรธากับมังระราชบุตรนำทหารพม่าเข้ามาตีค่ายทหารไทย ได้ทำการรบกันเต็มที่ ฝ่ายไทยยึดลำน้ำเป็นเครื่องกีดขวาง พม่าต้องข้ามน้ำมาตีค่ายของไทย ถูกฝ่ายไทยยิงล้มตายเป็นจำนวนมาก จนต้องถอยทัพกลับไป ครั้นทัพหลวงของพระเจ้าอลองพญามาถึง ฝ่ายพม่ามีกำลังมากกว่าไทยก็แปรกระบวนเข้าตีโอบ กองทัพไทยแตกพ่าย เจ้าพระยามหาเสนาถูกอาวุธข้าศึกตาย พระยายมราชก็ต้องอาวุธด้วย บาดเจ็บกลับมาตายในกรุงฯ นายกองที่รอดมาได้ก็มีแต่พระยารัตนาธิเบศร์ กับพระยาราชบังสรร ส่วนทหารถูกสังหารเสียเป็นจำนวนมาก

การรบที่ทุ่งตาลาน ซึ่งก็ใกล้กรุงศรีอยุธยาเข้ามากแล้วนี้ เปรียบได้กับการปฏิบัติการของการรักษาด่านรบซึ่งระยะไกลเกินไปหน่อย การรบก็ไม่น่าจะต้องแตกหักจนถึงกับแตกพ่ายกลับลงมาอีก แต่การที่มีลำน้ำเป็นเครื่องกีดขวาง คงจะเกื้อกูลให้ทำลายกำลังของพม่าลงได้มากจึงได้ตัดสินใจทำการรบอย่างเต็มที่ เพื่อทำลายกำลังพม่าลงให้มากก่อนที่จะเข้าประชิดที่มั่นใหญ่คือ กรุงศรีอยุธยาได้ พระเจ้าอลองพญาตีค่ายไทยที่ทุ่งตาลานแตกแล้ว ก็เคลื่อนที่เข้ามาจนถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2303 (ศึกระหว่างพม่ากับไทยครั้งนี้ เป็นสงครามครั้งที่ 22)

การวางกำลังของพม่า
ทัพหลวง อยู่ที่บ้านกุ่มข้างเหนือกรุง
กองทัพหน้า มังระราชบุตรกับมังฆ้องนรธา เข้าที่ตั้งที่โพธิ์สามต้น

การตั้งฐานปฏิบัติการ ในครั้งนั้น หลวงอภัยพิพัฒน์ ขุนนางจีนพาพวกจีนบ้านนายก่ายประมาณ 2,000 คน มาขออาสาตีค่ายข้าศึกที่โพธิ์สามต้น จึงโปรดให้เจ้าหมื่นทิพเสนา ปลัดกรมตำตรวจนำกำลัง 1,000 คน เป็นกองหนุนออกไปด้วย

การรบ กองกำลังจีนเคลื่อนที่ไปถึงยังไม่ทันที่จะตั้งค่าย พม่าก็ข้ามลำน้ำโพธิ์สามต้น เข้าตีกองกำลังจีนแตกพ่าย เจ้าหมื่นทิพเสนา ซึ่งเป็นกองหนุนยังตั้งอยู่ที่วัดทะเลหญ้า ทุ่งเพนียดเคลื่อนที่ขึ้นมาหนุนไม่ทัน ครั้นเห็นพม่าไล่ฆ่าฟันจีนมา กองหนุนของจมื่นทิพเสนาก็พลอยแตกไปด้วย การรบคราวนี้ฝ่ายไทยและจีนเสียคนไปเป็นจำนวนมาก มังระเห็นได้ทีก็นำกำลังรุดเข้ามาตั้งค่ายที่เพนียด ให้มังฆ้องนรธาเป็นกองระวังหน้าเคลื่อนที่เข้ามาถึงวัดสามวิหาร จากนั้นมาก็มิได้ปรากฏว่าฝ่ายไทยได้นำกำลังออกไปต่อสู้กับพม่าอีก คงให้รักษาพระนครมั่นไว้ ส่วนภายนอกปล่อยให้พม่าทำตามใจชอบ

ข้อพิจารณา
การรบที่โพธิ์สามต้นเป็นการที่ฝ่ายไทยส่งกำลังออกไปตั้งฐานปฏิบัติการ แล้วส่งกำลังออกไปทำการตีโฉบฉวยเพื่อทำลายข้าศึกและหาข่าวไปด้วยในตัว แต่การปฏิบัติไม่เป็นผล เพราะฝ่ายพม่าชิงเข้าปฏิบัติการเสียก่อนที่ฝ่ายไทยจะตั้งตัวและลงมือปฏิบัติการตามแผนได้ทัน

กองทัพพม่าของพระเจ้าอลองพญาล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2303 ซึ่งเป็นระยะต้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งไม่ทรงชำนาญการรบเลย ก็ทรงได้แต่เรียกนายทหารที่เคยมีความสามารถ มารักษาพระนครศรีอยุธยา และส่งแม่ทัพซึ่งว่างเว้นจากสงครามมานานไปรับศึก จึงมิอาจต้านทานกำลังพม่าได้ ต้องถอยมาตั้งรับที่กรุงศรีอยุธยา ราษฎรและข้าราชการไทยกราบบังคมทูล ให้นิมนต์สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งผนวชอยู่ ให้มาทรงบัญชาการทัพไทย ไทยจึงมีการต่อต้านดีขึ้น

การเข้าตีกรุงศรีอยุธยา (อยุธยา พ.ศ. 2303)
การเข้าตี 
เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2303 ทหารพม่าประมาณ 2,000 คน ได้เคลื่อนที่ลงมายังท้ายคู ทั้งสองฟาก ( ที่เรียกว่าคูคือ แม่น้ำข้างใต้กรุงฯ ราวปากคลองตะเคียน ) ขณะนั้นพวกชาวเรือค้าขาย ถอยหนีลงไปจากข้างเหนือ ไปจอดรวมกันอยู่ที่ท้ายคูเป็นจำนวนมาก ทั้งเรือพระที่นั่ง เรือพระที่นั่งกราบ และเรือกระบวน ซึ่งเอาไว้ในโรงเรือข้างเหนือพระราชวัง ก็ถอยเอามารวมกันไว้ที่นั่นด้วย พม่าฆ่าฟันผู้คนทั้งชายหญิงเด็กผู้ใหญ่ล้มตายเป็นอันมาก แล้วเผาเรือที่ท้ายคูนั้นเสียหมด

แผนที่สังเขปการแสดงการรบที่โพธิ์สามต้น
(ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 พ.ศ.2310)

การใช้ปืนใหญ่ ถึงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2303 พม่าก็เอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ข้างด้านทิศตะวันตก ยิงเข้าไปในพระนคร สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงช้างพระที่นั่งเสด็จไปบัญชาการ ให้เจ้าหน้าที่ยิงปืนป้อมตอบโต้พม่า ยิงกันถึงเวลาเย็น พม่าก็เลิกทัพกลับไป ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2303 พม่าก็เอาปืนใหญ่มาตั้งจังก้าที่วัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาส ระดมยิงเข้าไปในพระราชวังทั้งกลางวันกลางคืน ลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์หักทะลายลง

ปืนใหญ่ประจำการเมืองมัณฑเลย์
(ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยรบพม่า)

ในวันที่พม่ายิงพระราชวังที่กล่าวนี้ พระเจ้าอลองพญา ทรงมาบัญชาการและจุดชนวนปืนใหญ่เอง เผอิญปืนแตกถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัสประชวรหนักในวันนั้น (จากบทความเรื่อง “ พระพุทธศาสนา ” กล่าวถึงเรื่องเหตุผลการสิ้นพระชนม์ ของพระเจ้าอลองพญาว่า … อลองพญาเห็นจวนถึงฤดูน้ำหลาก จึงมีพระราชสาส์นเข้าไปในกรุงว่า “ พระองค์เป็นบรมโพธิสัตว์ใคร่จะเสด็จประเวศ เลียบนครศรีอยุธยา

ให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ชาติไทยทั้งผองเหมือนพระบรมศาสดา เสด็จเข้าเหยียบกรุงกบิลพัสดุ์ ฉะนั้น ” ไทยมีสาส์นตอบออกไปว่า “ ในภัททกัปป์นี้ก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสไปแล้ว 4 พระองค์ พระศรีอริยเมตไตรยก็ยังเสด็จอยู่ดุสิตเทวโลก ทั้งเวลานี้ก็ยังอยู่ในระหว่างพระศาสนาพระสมณโคดมยังมิถ้วน 5,000 พระวรรษา ไทยจะยอมเชื่อถือพระโพธิสัตว์องค์ไหนปลอมเข้ามาซอกแซกอวดอุตริมนุสธรรมอยู่ไม่ไหว เกรงจะหมกไหม้ ในโลกันตมหานรกด้วยผลครุโทษนั้น ”

อลองพญารับสาส์นนั้นแล้วกริ้วนัก จึงเสด็จมายิงปืนใหญ่ด้วยพระองค์เอง บรรจุดินปืนมากไปปืนแตกต้องพระองค์เข้า จึงถอยทัพกลับ อลองพญาทิวงคตในระหว่างทาง ” ( http://www. worldbuddhism.net/buddhism-history/Burma.html , 14/7/2547 ) พอรุ่งขึ้นวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2303 พม่าก็พากันเลิกทัพ เคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือหวังจะกลับออกไปทางด่านแม่ละเมา แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สิ้นพระชนม์ลงกลางทาง ที่ตำบลเมาะกโลก แขวงเมืองตาก (แต่เอกสารของพม่าบางฉบับบอกว่า เกิดฝีหัวช้างเม็ดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นโรคเก่ามาแต่เดิม, เชาว์ รูปเทวินทร์, 2528 : 644)

พม่าถอยทัพ การถอยทัพครั้งนี้ เป็นการรีบร้อนไปในทันที มิได้มีเวลาเตรียมการ การขนปืนใหญ่ไปก็ไม่ทัน ต้องเอาลงฝังทิ้งไว้ในค่ายหลวง ต่อมาไทยขุดพบหลายสิบกระบอก ในชั้นแรกเมื่อพม่าถอยทัพกลับไป ไทยยังไม่รู้ว่าพระเจ้าอลองพญาประชวร คิดว่าพม่าทำการถอยเป็นกลอุบาย ก็มิได้ส่งกำลังติดตาม ครั้นรู้ว่าเลิกทัพกลับไปแน่ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงสั่งให้พระยายมราช กับพระยาสีหราชเดโชชัย นำกำลังไล่ติดตามพม่า ตามไปจนถึงเมืองตากก็ไม่ทันข้าศึก แต่ถึงจะทันก็เห็นจะไม่มีประโยชน์อันใด เพราะเวลานั้นครั่นคร้ามพม่าเสียแล้ว พม่าจึงเดินทางกลับโดยสะดวก

ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสงคราม พ.ศ. 2302-2303

วันที่

เดือน

พ . ศ .

เหตุการณ์

 

 

2302

พระเจ้าอลองพญาสั่งให้มังระนำกองทัพ มาตีเมืองตะนาวศรีและมะริดปลายปีนี้ พระเจ้าอลองพญาส่งกำลังเข้ารุกรานไทย

11

เมษายน

2303

กองทัพพม่าเคลื่อนที่ถึงกรุงศรีอยุธยา

23

เมษายน

2303

ทหารพม่า 2,000 คน เคลื่อนที่เข้าตีท้ายคูทั้งสองฟาก

29

เมษายน

2303

พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ยิงเข้าไปในพระนคร

30

เมษายน

2303

พม่าเอาปืนใหญ่เข้าที่ตั้งยิงที่วัดหน้าพระเมรุ และวัดหัสดาวาส ยิงพระราชวัง พระเจ้าอลองพญามาบัญชาการจุดชนวนปืนใหญ่เอง เผอิญปืนแตก ถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัส

แผนที่สังเขปแสดงการเข้าตี
กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2303
(ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310)
  • 2. การเตรียมการ การตัดสินใจอย่างปัจจุบันทันด่วน ของพระเจ้าอลองพญานั้น ทำให้ขาด การเตรียมการที่สำคัญไป ซึ่งในสมัยก่อนพม่าใช้เวลาในการเตรียมการร่วมปีทีเดียว ดังนั้นปัญหาใหญ่ที่น่าจะเป็นปัญหาที่เผชิญหน้า ของพม่าในตอนนี้ก็น่าจะเป็นดังนี้

2.1 กำลังพล กำลังที่มาตีเมืองทวาย แล้วต่อมายังมะริดและตะนาวศรีนั้นมีมาเพียง 8,000 คน และทัพหลวงไม่ทราบจำนวน แต่กำลังที่สั่งให้จัดเพิ่มเติมไปอีก 2 กองทัพนั้นไม่ทราบว่าจำนวนเท่าใด กำลังอาจจะน้อยกว่าครั้งก่อนๆ เพราะรีบจัด หรือก็อาจจะมากเพราะตอนนี้พม่าได้หัวเมืองไว้แล้วด้วย

2.2 การประกอบกำลัง จากการปฏิบัติการที่แล้วๆ มา น่าจะพิจารณาถึงเรื่องต่อไปนี้ คือ
– กองเรือ การที่ต้องมีกองเรือก็เพื่อปราบกองทัพเรือไทย เพราะอยุธยามีน้ำล้อมรอบ ดังที่เคยปฏิบัติมาแล้ว
– ปืนใหญ่ ปืนที่จะใช้ยิงเข้าไปในพระนคร คงจะต้องเป็นปืนที่มีระยะไกลพอ ซึ่งพม่าก็มีแล้วและก็ได้ปฏิบัติแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นปืนที่นำไป พร้อมกำลังส่วนที่สองที่ตามไปภายหลัง แต่ปรากฏในการรบว่า เมื่อพม่าเอาปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนคร ไทยก็เอาปืนใหญ่ยิงโต้ตอบออกไปอย่างไม่ลดละเหมือนกัน

2.3 การส่งกำลังบำรุง โดยเฉพาะในเรื่องเสบียงอาหาร พม่าก็มิได้เตรียมไว้สำหรับตีกรุงศรีอยุธยาแน่ แต่ในระยะนั้นพม่าทำสงครามอยู่บ่อยๆ อาจเตรียมสำรองไว้บ้างก็ได้ ก็เลยนำมาใช้ไปก่อน ทั้งสามเรื่องนี้ประวัติศาสตร์มิได้บอกรายละเอียดไว้ จึงเพียงแต่ยกขึ้นมาเป็นข้อพิจารณาที่น่าสังเกตไว้เท่านั้น

ทหารปืนใหญ่ (พ.ศ.2422)
ภาพแสดงปืนใหญ่ประจำบนหลังช้าง นับเป็นเทคนิคการรบที่เก่าแก่ย้อน          หลังไป ถึงรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง(ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย :             ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า )
  • 3. การจู่โจม จากการที่พม่ามิได้เตรียมการมาก่อน พร้อมกันนั้นไทยก็มิได้เตรียมตัวด้วย เหมือนกัน แต่พม่าได้เปรียบตรงที่ว่า พม่าได้ผ่านการปฏิบัติการรบมาแล้วซึ่งกระทำอยู่บ่อยๆ อะไรต่ออะไรย่อมจะทำได้รวดเร็วกว่าและเป็นฝ่ายริเริ่ม ฉวยโอกาสเข้าปฏิบัติการก่อน ดังนั้นการกระทำของพม่าจึงเป็นการปฏิบัติการอย่างจู่โจม ในขณะที่พระเจ้าอลองพญาตัดสินพระทัยรุกรานไทยนั้น กองระวังหน้าของพระองค์เคลื่อนที่ผ่านด่านสิงขรได้ทันที มิใช่กำลังอยู่ในขั้นเตรียมการ แต่ทำการรุกแล้ว พม่าแก้ปัญหาที่มิได้เตรียมการด้วยการปฏิบัติการอย่างจู่โจมทดแทน
ขบวนทหารราบพม่า (พ.ศ.2422)
(ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า )
ทหารม้าพม่าถือหอกซัด
(ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า )
  • 4. การข่าวของฝ่ายไทย แม้จะทำให้เกิดวามสับสนและผิดพลาด ทำให้ทหารต้องเคลื่อนที่เหน็ดเหนื่อย และเสียเวลาไป แต่จากการปฏิบัติก็ทำให้ได้เกิดการปะทะกันที่แก่งตุ่ม ปลายน้ำตะนาวศรี การปะทะของกองอาทมาตที่อ่าวหว้าขาว ซึ่งอยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่แคบคับขัน มีที่ราบเป็นทางเดินแต่ตอนริมทะเล ข้างในเป็นภูเขาเป็นเทือกติดต่อกันไปจนถึงเขาบรรทัด และการรบกันที่เมืองราชบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่าน ก็นับได้ว่ามีการรั้งหน่วงและได้ทำการป้องกันพื้นที่มาตาม ขั้นตอน ที่ได้วางแผนไว้ ความจริงการข่าวของเราทั้งทางยุทธศาสตร์ และข่าวกรองการรบปฏิบัติการ ได้ไม่เกิดผลเท่าที่ควร ก็เป็นเพราะพม่าจู่โจมเอาด้วยเหมือนกัน แต่หน่วยทหารก็ยังได้ปฏิบัติการป้องกันพื้นที่พอที่ จะสอดคล้องกับการป้องกันประเทศ แต่เป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างจะกระชั้นไปหน่อย
  • 5. เส้นทางเคลื่อนที่ของข้าศึก

    5.1 ด่านสิงขร 
    เป็นเส้นทางที่ข้าศึกหน่วยแรกเข้ามาจริง เห็นจะเป็นเพราะในขณะที่ตกลงใจ หน่วยทหารพม่าที่อยู่ที่เมืองมะริดนั้น อยู่ห่างจากบ้านสิงขร วัดระยะทางตรงประมาณ 135 กม. จึงคิดว่า ออมกำลังทหาร ใกล้ทางใดใช้ทางนั้น แม้ว่าจะเป็นการเปิดเผยเจตนามิให้ทราบว่า เป็นการรุกรานก็ยังดีกว่าให้ทหารต้องเหน็ดเหนื่อย เดินไปเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ สู้ทนลำบากเอาเพียง 5-6 วันดีกว่า แต่ก็เป็นชั่วระยะเวลาอันสั้น ไทยคงเตรียมอะไรได้ไม่มากนัก
ด่านเจดีย์สามองค์ (ภาพจากพม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า)

5.2 ด่านเจดีย์สามองค์ แม้จะมีใบบอกข่าวข้าศึกทั้งๆ ที่ไม่มีข้าศึก ก็ยังเป็นการเข้าเค้า เพราะกำลังอีกสองกองทัพที่จะตามมา ประวัติศาสตร์ไม่ได้บอกไว้ แต่ก็คาดว่าจะเข้ามาทางด่านนี้

5.3 ด่านแม่ละเมา ไม่ทราบว่าทางกำแพงเพชรไปได้ข่าวทางยุทธศาสตร์ได้อย่างไร ถึงแม้มีใบบอกว่าข้าศึกจะยกทัพเข้ามาอีกทัพหนึ่ง จึงทำให้เกิดความสับสนขึ้น ชวนให้เสียเวลาและกำลังไปด้วย

  • 6. การเตรียมการของไทย เมืองด่านราชบุรีแตกแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรถึงได้ลา ผนวชเตรียมการป้องกันพระนคร โดยเฉพาะในการกวาดต้อนผู้คน เตรียมป้อมปราการ และจัดทัพไปรั้งหน่วงที่สุพรรณบุรี ชั่วระยะเวลาอันสั้นก็ยังได้มีการรบกันที่ทุ่งตาลาน รบกันอย่างรุนแรงที่โพธิ์สามต้น พม่าถึงเข้าถึงตัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาได้ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการให้ดีได้ และการรั้งหน่วงก็พยายามทำเท่าที่จะทำได้เท่านั้น
ด่านเจดีย์สามองค์
(ภาพจาก www.thaicabincrew.com/ html/memory21.htm , 20/7/2547)
  • 7. การปฏิบัติการของพม่า หลังจากการรบที่โพธิ์สามต้นแล้ว พม่าก็ส่งกำลังเข้าประชิด พระนคร ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นด้านทิศเหนือด้านเดียว มิได้ล้อมโดยรอบ แต่ส่งกำลังเข้าปฏิบัติการในทิศทางอื่นด้วย

    7.1 ส่งกำลังเข้าปฏิบัติการที่ท้ายคูทั้งสองฟาก คงมุ่งหมายทำลายเรือซึ่งมิให้ไทยได้ มีโอกาสใช้เรือลำเลียงเสบียงอาหารเพิ่มเติมเข้ามาในพระนครได้ การรบจะได้ยุติเร็วขึ้น

    7.2 พม่าใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพระนคร ไทยก็ยิงตอบไปด้วย ต่อมาอีกไม่กี่วันพม่า ระดมยิงติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน พม่าคงจะหวังทำลายด้วยการยิงให้ไทยยอมจำนน มากกว่าที่จะปล่อยให้ไทยขาดแคลนเสบียงแล้วยอมจำนน เพราะพม่าเองก็คงจะมีเสบียงมาไม่มาก และอยู่ได้ไม่นานพอที่จะให้ฝ่ายไทยขาดแคลนเสบียง แต่บังเอิญปืนแตกถูกพระเจ้าอลองพญาเสียก่อน พอรุ่งขึ้นพม่าก็เลยถอนตัวกลับไป การรบล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
  • 8. พม่ามาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2303 ถอนตัวกลับไปในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2303 รวมเวลาประชิดพระนครอยู่ 20 วัน ไม่สามารถทำลายไทยได้และไม่นานพอที่จะให้ไทยขาดเสบียงและยอมจำนน

  • 9. ปัญหาส่งท้ายที่น่าคิดพิจารณาก็คือว่า ถ้าพระเจ้าอลองพญาไม่ได้รับบาดแผลสาหัส แล้ว พม่าจะเลิกทัพกลับไปหรือไม่ ในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1 ของ ดี.จี.ฮอล์ หน้า 562 ได้สรุปถึงสาเหตุและการที่จะต้องเลิกทัพกลับไปว่า “… พระเจ้าอลองพญาเข้ามารุกรานเมืองไทย และเข้าล้อมพระนครโดยอ้างเหตุผลในการเข้าโจมตีนี้ว่า ไทยไม่ยอมส่งพวกกบฏมอญซึ่งหนีเข้ามาพึ่งพระบารมี อยู่ในเมืองไทยกลับไป แต่ความจริงนั้นอลองพญามุ่งหวังที่จะทำให้พม่ารุ่งโรจน์เหมือนสมัยบุเรงนอง คนไทยยืนยันว่า ถ้าแม้ว่าอลองพญากษัตริย์พม่าจะไม่ได้รับบาดแผลสาหัส พระองค์ก็จำเป็นจะเลิกทัพกลับไป เพราะไม่ได้เตรียมที่จะทำสงครามระยะยาว เพราะฉะนั้นจึงต้องตัดสินพระทัยเสด็จกลับก่อนฤดูฝนปี ค.ศ. 1760 แต่การสิ้นพระชนม์ของอลองพญานี้ ก็ช่วยได้แต่เพียงยืดเวลาที่พม่าจักรุกรานไทยครั้งต่อไป ให้เนิ่นนานออกไปอีก 2-3 ปีเท่านั้น …”

  • 10. การถอยของพม่านั้น เป็นที่น่าเสียดายว่า ไทยมิได้ส่งกำลังออกไล่ติดตาม เพราะเกรง ว่าจะไปถูกกลอุบายพม่าเข้า จนทำให้เสียโอกาสไป ทั้งๆ ที่การถอยของพม่า เป็นการรีบด่วนน่าจะใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุดคือ ทางด่านเจดีย์สามองค์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ทางด่านเจดีย์สามองค์ก็เป็นเส้นทางกันดารเมื่อเลยเมืองกาญจนบุรีไปแล้ว การใช้เส้นทางไปทางเมืองตากผ่านด่านแม่ละเมา จะเป็นเส้นทางที่อุดมดีกว่า ยังสมบูรณ์มิได้ถูกย่ำยีจากหน่วยใดในตอนขามา คงจะพอหาเสบียงอาหารได้บ้าง ถ้าพม่าหันมาใช้เส้นทางนี้จริงตามเหตุผลที่ได้พิจารณามาแล้ว ก็พอจะเห็นได้ทางหนึ่งว่า ในกองทัพพม่านั้นก็น่าจะขัดสนเสบียงอาหารแล้ว

  • 11. สงครามคราวนี้ พม่าลงมือปฏิบัติการโดยมิได้ตั้งใจและเตรียมการมาก่อน และใช้เส้น ทางที่ไกลและกันดาร ถ้าหากว่าจะเป็นไปได้ พม่าปฏิบัติการอย่างที่เป็นมาแล้วทุกประการ แต่เปลี่ยนเส้นทางจากด่านสิงขรเป็นด่านเจดีย์สามองค์ ใช้เวลาสั้นเข้า หน่วยนำของพม่าจะเข้าถึงพระนครได้เร็วขึ้น ทั้งไทยและพม่าต่างก็มีเวลาในการเตรียมการน้อยลง แต่กำลังส่วนน้อยของพม่าพร้อมก่อนเพราะเป็นฝ่ายรุกและริเริ่ม ไม่แน่ว่ากำลังที่มีอยู่ในยามปกติของไทยจะพอแก้ปัญหาได้หรือไม่ (จรรยา ประชิตโรมรัน, 2536 : 24-39)

ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดารไทยว่า ในระหว่างล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญาทรงบัญชาการจุดปืนใหญ่ด้วยพระองค์เอง เผอิญปืนใหญ่แตกถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัส จนต้องยกทัพถอยกลับขึ้นไปทางเหนือ โดยให้แม่ทัพรองคอยระวังหลัง เมื่อพม่าถอยทัพไปถึงบริเวณ เมืองระแหง หรือตาก พระเจ้าอลองมินตยาคยีก็สิ้นพระชนม์ ( พระชนมายุเพียง 46 พรรษา ) ราชบุตรมังระทรงส่งข่าวลับเฉพาะไปถึงพระมหาอุปราช ( นองดอคยี ) และให้ปิดความแก่ทหารทั้งกองทัพ ผู้ที่ทราบเรื่องนี้มีแต่แม่ทัพไม่กี่คน พม่านำพระศพกลับผ่านหงสาวดีและร่างกุ้ง ไปถวายพระเพลิงที่กรุงรัตนสิงห์ แล้วนำพระอัฐิอังคารไปบรรจุที่พระเจดีย์ที่ตำบลชเวโบ (ชูสิริ จามรมาน , 2527 : 62)

แต่ในพงศาวดารหอแก้วเล่าว่า ในระหว่างการล้อมราชธานีของไทยเป็นเวลา 5 วัน พระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวร เพราะเป็นฝีหัวช้างเม็ดใหญ่ (เชาว์ รูปเทวินทร์, 2528 : 644) และในที่สุดต้องล่าทัพกลับไป พระองค์สิ้นพระชนม์ที่ ตำบลเมาะกโลก ใกล้เขต เมืองเมาะตะมะ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2303 ขณะนั้นพระองค์มีพระชันษา 45 ปี แต่หนังสือประวัติศาสตร์พม่าของ หม่องตินอ่องรับรองหลักฐานของไทย อนึ่งเหตุผลที่ว่าพระเจ้าอลองพญายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น เพราะว่าไทยบุกรุกชายแดนเมืองทวายก็ไม่ตรงกับหลักฐานไทย จากหลักฐานในหนังสือประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ของศาสตราจารย์ ดี.จี.อี. ฮอลล์ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์เป็นกลางได้วิจารณ์ว่า พงศาวดารหอแก้วมักพรรณาเรื่องราวว่าด้วยสัมพันธภาพระหว่างไทยกับพม่าโดยเข้าข้างพม่า หนังสือเล่มนี้ระบุว่า พระเจ้าอลองพญาต้องการ “ บุกประเทศไทย ” มิใช่ไทยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อน

นองดอคยี หรือเยาดอกะยี ( มังลอก ) พระราชโอรสองค์ใหญ่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้า อลองมินตยาคยี ฝ่ายพระเจ้าตองอูผู้เป็นปิตุลาก็เป็นกบฎขึ้น พม่าต้องเสียเวลาปราบปรามมอญและ

เมืองตองอูจนสงบ นองดอคยีครองราชย์ เพียง 3 ปี (พ.ศ. 2303-2306) ก็สิ้นพระชนม์ มังระพระอนุชาได้ครองราชย์สืบต่อมาเป็นองค์ที่ 3 ของราชวงศ์อลองพญา กษัตริย์มังระ เป็นผู้มีฝีมือเข้มแข็งในการศึกสงครามยิ่งนัก พม่ายกย่องว่าเทียบได้กับพระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศผู้ตีกรุงศรีอยุธยาแตก ในครั้งที่1) พระเจ้ามังระเป็นราชบุตรที่พระเจ้าอลองพญารักใคร่วางใจมาก ออกศึกทำสงครามเคียงกับพระราชบิดามาแต่พระชนม์ไม่เต็ม 20 พรรษา เคยเป็นแม่ทัพคุมทหารนับหมื่นออกทำสงครามกวาดล้างบรรดาหัวเมืองมอญภาคใต้ไว้ในอำนาจทั้งหมด (เชาวน์ รูปเทวินทร์, 2528 : 648)

3.3 พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า มีเหตุผลอย่างไรที่จะมาตีกรุงศรีอยุธยา ?

ใน พ.ศ. 2306 พระเจ้ามังระ หรือพระเจ้าสินปยูชิน (Hsinbyushin) หรือศิริธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าอลองพญาได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้ามังลอก พระเชษฐา ระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่นิยมการศึกสงคราม เมื่อพระเจ้ามังระได้ราชสมบัติในเดือนธันวาคม พ.ศ.2306 

                                                                         กระบวนทัพพม่า : วิชะกะพยุหะ ตั้งเป็นริ้วกระบวน                                                                                                         รูปก้ามแมงป่อง (ภาพจากหนังสือพม่ารบไทย :                                                                                                                  ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า)

ยังรอราชพิธีราชาภิเษกอยู่ ได้ทรงวางแผนการที่จะมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ครั้งนั้นแล้ว ทรงตั้ง อภัยคามินี เป็น เนเมียวสีหบดี ให้เป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ให้ระดมกำลังชายฉกรรจ์ ในเขตแคว้นไทยล้านนา และล้านช้างเข้าเป็นกองทัพโดยมีจุดมุ่งหมายจะมาโจมตีกรุงศรีอยุธยา เนเมียวสีหบดีถวายบังคมลาจากกรุงรัตนสิงห์ แต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2306 ด้วยไพร่พลในชั้นแรกจำนวน 20,000 มีช้าง 100 เชือก ม้า 1,000 ตัว แล้วพระองค์ทรงแต่ตั้งแม่ทัพพม่าอีกท่านหนึ่งชื่อ มหานรธา ให้คุมทัพจำนวนเท่ากับเนเมียวสีหบดี ลงมาตีเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีแล้วให้เข้ามาทางเมืองราชบุรี ตีเมืองเพชรบุรี ไชยา ชุมพร กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เมื่อได้เมืองเหล่านี้แล้วให้รอทัพอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี จนกว่าจะได้รับคำสั่งต่อไป

(ลักษณะการบัญชาให้ยกทัพรุกเข้ามาทั้ง 2 ทาง เป็นแบบคีมหนีบ ( pincer movement) นี้ พระเจ้ามังระแห่งอังวะทรงริเริ่มแผนยุทธการแบบนี้ก่อนฮิตเลอร์ ร่วม 200 ปี) (ขจร สุขพานิช, 2545 : 263)

ในพ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระทรงยกทัพไปตีเมืองมณีปุระและยึดครองได้ในเดือนธันวาคม ปีต่อมาทรงนำประชาชนติดตามกลับกับกองทัพไปยัง เมืองอังวะ ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเมืองหลวงใหม่ โดยทรงย้ายเข้าเมืองในปีพ.ศ. 2308 ประตูเมืองอังวะที่ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นทรงให้ชื่อเมืองประเทศต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ มะตะบัน โมกอง เป็นชื่อประตูทางด้านตะวันออก ประตูทางใต้มีแกงมา หรรษวดีหรือหงสาวดี ออนยอง ( ปัจจุบันคือสีป่อ )

ประตูทางทิศตะวันตกมีเวียงจันทน์ ล้านช้าง และเชียงตุง ประตูทางทิศเหนือมี ตะนาวศรี และอยุธยา การแบ่งที่อยู่ในเมือง แบ่งตามเชื้อชาติ มีพ่อค้าอินเดียทางหนึ่ง จีนอีกแห่งหนึ่ง พวกนับถือคริสเตียนแถบหนึ่ง และอีกส่วนก็มีเชลยที่จับไปจากเมืองไทย และมณีปุระ พระราชวังก็มีสภาพ ประดุจเมือง ชั้นในมีกำแพง มีป้อม มีคูล้อม ทรงมีพระราโชบาย แผ่พระเดชานุภาพ สร้างจักรวรรดิให้ เหมือนกับ พระเจ้าบุเรงนอง คือจะต้องตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ ด้วยเหตุนี้หนังสือประวัติศาสตร์ของ หม่องตินอ่องมีข้อความว่า “… วัตถุประสงค์ของมังระที่จะปราบกรุงศรีอยุธยาย่อมเป็นที่รู้อยู่ดีแล้วสำหรับคนไทย ซึ่งจะสงบเงียบเสียไม่ได้ เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติพม่า …”

แต่หนังสือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ของมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม (2543 : 32) กล่าวถึงเป้าหมายของพม่าเพื่อทำลายอยุธยาให้แหลกสลายว่า สมเด็จพระเจ้ามังระได้ดำเนินการปราบปรามกบฏ ตามแว่นแคว้นต่างๆ ของพม่า และทรงตระหนักว่า การแทรกแซงของกรุงศรีอยุธยา ( ต่อเขตอิทธิพลตามประเพณีของราชวงศ์อลองพญา ) เป็นการส่งเสริมกบฏ ของแว่นแคว้นต่างๆ ของพม่าไปโดยปริยาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องทำให้ราชอาณาจักรอยุธยาแตกสลายลง จนไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงแก่เมืองขึ้นของพม่าได้อีกต่อไป

วิเศษไชยศรี (2541 : 250) ได้เขียนเกี่ยวกับเหตุผลในการตีกรุงศรีอยุธยาในเรื่องไทยไทย : ไทยเสียกรุงว่า สาเหตุหนึ่งที่พระเจ้ามังระรุกรานอยุธยา เพราะอยุธยาบิดพริ้วที่จะส่งเครื่องบรรณาการให้แก่พระเจ้าอลองพญาตามที่สัญญาไว้

หลักฐานนี้ได้มาจากจดหมายเหตุของบาทหลวงผู้เข้ามาพำนักอยู่ในกรุงอังวะและร่างกุ้งในรัชกาลของพระเจ้าปดุง (ปีพ.ศ.2326-49) และหลักฐานนี้สอดคล้องต้องกันกับพงศาวดารราชวงศ์คองบองที่ระบุว่า เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ทางฝ่ายไทยดำเนินนโยบายถ่วงเวลาเพื่อให้กองทัพพม่าต้องผจญกับฤดูน้ำเหนือหลาก ด้วยการส่งทูตออกไปยังกองทัพพม่า แสร้งทำทีท่าว่าจะอ่อนน้อมยอมแพ้และส่งเครื่องบรรณาการขึ้นต่อพม่า

ฝ่ายพระเจ้าอลองพญาเห็นเวลาใกล้ฤดูน้ำเหนือหลาก และกอปรกับทรงพระประชวรจึงจำต้องถอยทัพกลับ เหตุการณ์ทั้งนี้พระเจ้ามังระทรงรู้ดี เพราะเกิดขึ้นเมื่อสงครามครั้งสุดท้ายของพระราชบิดาของพระองค์ ทำให้ต้องล่าถอยจากกรุงศรีอยุธยาด้วยอุบายและอุปสรรคจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายอยุธยาจนดูเหมือนว่าพม่าเป็นฝ่ายปราชัยแก่อยุธยา เพราะเป็นฝ่ายล่าเลิกทัพกลับโดยไม่อาจตีกรุงศรีอยุธยาได้ ทั้งพระเจ้าอลองพญาพระราชบิดาของพระองค์ก็ถึงกับประชวรสิ้นพระชนม์ลงด้วย เหตุดังกล่าวนี้เองเป็นปัจจัยให้พระเจ้ามังระตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะเอาชนะอยุธยาให้ได้โดยเด็ดขาด เพื่อพระองค์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตามคตินิยมที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมของพม่ามาช้านาน ดังนั้นการส่งกองทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาของพระมังระมิใช่ความคิดที่เกิดขึ้นภายหลังที่เห็นไทยอ่อนแอ ในสายตาของพม่า กรุงศรีอยุธยาตอนปลายมิได้อ่อนแอ ยังคงเป็นราชธานีที่ยากแก่การต่อตีเอาชนะ สมนามกรุงศรีอยุธยาด้วยประการทั้งปวง

และอีกสาเหตุหนึ่งที่พม่าจะมาตีไทยในปี พ.ศ.2307 เนื่องจากในสมัยพระเจ้ามังระ เมืองมะริดและเมืองตะนาวศรี เป็นเมืองออกของไทย ส่วนเมืองทวายเป็นของพม่า เมื่อพม่าผลัดแผ่นดินระหว่างมังลอกกับมังระ หุยตองจา เจ้าเมืองทวายเป็นกบฏ ฆ่าพม่าที่ดูแลเมืองทวายเสีย แล้วส่งบรรณาการเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา พม่าจึงยกกองทัพมาตีเมืองทวาย เมื่อถูกปราบปราม หุยตองจาก็พาครอบครัวหนีมาทางเมืองมะริด ทัพพม่าติดตามหุยตองจาเข้ามาทางด่านสิงขร ( ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ) และถือโอกาสตีเมืองกำเนิดนพคุณ ( อำเภอบางสะพาน ) เมืองคลองวาฬ เมืองกุยบุรี เมืองปราณ แต่เมื่อมาถึงเพชรบุรีก็พบกองทัพของพระยาตากสิน กับพระยาพิพัฒน์โกษาที่รออยู่ กองทัพพม่าถูกตีโต้กลับไปทางด่านสิงขร

ในระหว่างนั้นพระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองกำแพงเพชรถึงแก่อนิจกรรมลง พระเจ้าเอกทัศน์จึงโปรดฯ ให้เลื่อนพระยาตากสิน เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังโปรดฯ ให้รับราชการอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าที่เข้ามาตีหัวเมืองฝ่ายใต้ครั้งนี้เป็นเพียงกองโจร ครั้นมาพบกองกำลังอยุธยาที่ยกไปสกัด ก็ถอยหนีไป

วิเศษไชยศรี (2541 : 249) กล่าวว่า “ …พม่ายกกองทัพเข้ามาตีไทยทางด้านด่านสิงขรนี้เป็นเส้นทางใหม่ของพม่า ซึ่งเริ่มใช้เมื่อสมัยพระเจ้าอลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เพราะในสมัยพระเจ้า อลองพญานี้ พม่ามีกองทัพเรือลำเลียงพลจากร่างกุ้งและเมาะตะมะตัดลงสู่ทวายได้รวดเร็ว และพระเจ้าอลองพญาประสงค์จะใช้เส้นทางใหม่ที่ฝ่ายไทยไม่คาดคิดมาก่อน แต่ก็เข้าโจมตีได้อย่างรวดเร็ว เดิมนั้นพม่าจะใช้เส้นทางตามปกติเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาสองทาง คือทางเหนือ ยกมาทางเชียงใหม่ หรือไม่ก็ยกเข้ามาทางตากและระแหง คือทางด่านแม่ละเมา และอีกทางหนึ่งคือทางตะวันตก เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ … ”

3.4 แม่ทัพพม่าสมัยพระเจ้ามังระ คน ที่นำทัพมาตีไทยชื่ออะไร มีการเดินทัพอย่างไร ?

ใน พ.ศ.2308 พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ส่งแม่ทัพใหญ่ 2 คนคือ มังมหานรธา และ เนเมียวสีหบดี ยกทัพเข้ามา 2 ทางคือ ทางเหนือ และ ทางใต้ ดังรายละเอียดจากพงศาวดารคองบองกล่าวไว้ดังนี้

  • การเตรียมการจัดทัพของพม่า คองบอง ) ( พม่า พ..2307 )
    การจัดกำลังพล พงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบองกล่าวว่า พระเจ้ามังระทรงโปรดให้ เตรียมการ เข้าตีกรุงศรีอยุธยาล่วงหน้าเป็นเวลานานแล้ว ในชั้นต้นพระเจ้ามังระทรงโปรดให้เตรียมกำลังไว้ 27 กอง ประกอบด้วย ช้าง 100 เชือก ม้า 1,000 ตัว ทหาร 20,000 คน
  • แม่ทัพ เนเมียวสีหบดี
    รองแม่ทัพ กะยอดินสีหตุ ( Kyawdin Thihgathu ) และคุเชงยามะจอ ( Tuyin Yamagyaw )
    การเคลื่อนที่ กำลังทั้งหมดเคลื่อนที่ออกจากกรุงอังวะ เดือนมีนาคม พ.ศ.2307
    ภารกิจ ปราบกบฏล้านนา เข้าตีล้านช้าง และมุ่งตรงมายังกรุงศรีอยุธยา
    หลังจากที่เนเมียวสีหบดีรวบรวมกำลังจากหัวเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน ปราบกบฏล้านนา และยึดหลวงพระบางได้แล้ว กำลังของเนเมียวสีหบดีเพิ่มขึ้นรวมเป็น 40,000 คน ( คำให้การของชาวอังวะว่า 5,000 คน ) (สุเนตร ชุตินธรานนท์, 2541 : 22)
    พระเจ้ามังระเห็นว่ากองทัพของเนเมียวสีหบดีที่เคลื่อนที่ไปทางเชียงใหม่เพียงลำพัง ทัพเดียวคงไม่พอที่จะตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้ จึงจัดกำลังอีกกองทัพหนึ่ง มีกำลังดังนี้
    ช้าง 100 เชือก ม้า 1,000 ตัว ทหาร 20,000 คน
  • แม่ทัพ มังมหานรธา
    รองแม่ทัพ เนเมียวกุณเย๊ะ ( Neimyou Gunaye ) และคุเชงยานองจอ ( Tuyin Yanaungyaw)
    การเคลื่อนที่ กำลังในกองทัพเคลื่อนที่ไปสมทบกับกำลังอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเกณฑ์จากเมืองหงสาวดี เมาะตะมะ ตะนาวศรี มะริด และทวาย รวมกำลังได้ 30,000 คน กำลังทั้งหมดนี้เคลื่อนที่ออกจากทวายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2308
    ภารกิจ เข้าตีที่หมายเมืองเพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ไทรโยค และสวานโปง ก่อนพุ่งเข้ากรุงศรีอยุธยา

ข้อพิจารณา

1. ตามเอกสารพม่ายืนยันว่า พระเจ้ามังระได้เตรียมการตีกรุงศรีอยุธยาไว้นานแล้ว แต่ฝ่ายไทยไม่ทราบข่าวนี้เลย คนที่ไปมาค้าขายก็ไม่ทราบข่าว เมื่อพิจารณาแล้ว การข่าวของฝ่ายเราจะอ่อนไปบ้าง แต่ถ้าพิจารณาถึงสภาพจริงในเวลานั้นแล้ว อาจทราบว่าพม่ามีการเตรียมทัพจริง แต่ไม่อาจทราบว่าไปรบกับใครเพราะพม่านั้น มีการรบติดพันอยู่เสมอ และยิ่งกว่านั้นกองทัพพม่าของเนเมียว – สีหบดีนี้เมื่อจัดแล้ว ได้ส่งเข้าไปปฏิบัติการในล้านนา ล้านช้างเสียก่อน แล้วจึงมุ่งหน้าลงมายังกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายไทยไม่ทราบเรื่องก็เป็นได้ และเคลื่อนที่ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2307

2. กองทัพของมังมหานรธา ออกเดินทางในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2308 เพราะกองทัพนี้เดินทาง ในระยะใกล้ โดยที่มีที่หมายอยู่ในเมืองไทยทั้งสิ้น

3. ทั้งสองกองทัพ รบไปเรียกเกณฑ์คนไป ยิ่งรบยิ่งได้กำลังเพิ่มมากขึ้น (ขณะยกกองทัพมาล้อมกรุง พม่ามีกำลังพลรวม 80,000 คน (สุเนตร ชุตินธรานนท์, 2541 : 18)

4. การจัดกำลังของพม่า

(ภาพจากหนังสือการเสียกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310)
เหนือ
การจัดกำลังกองทัพพม่า
ตะวันตก
เนเมียวสีหบดี
กะยอดินสีหตุ และ
คุงเชงมาจอ
100
1,000
20,000
ปราบกบฏล้านนา เข้าตีล้านช้าง
มุ่งตรงมายังกรุงศรีอยุธยา
แม่ทัพ
รองแม่ทัพ
ช้าง
ม้า
ทหาร
ภารกิจ
 
มังมหานรธา
เนเมียวกุณเย๊ะ และ
คุงเชงยานองจอ
100
1,000
20,000
เข้าตีที่หมายเมืองเพชรบุรี ราชบุรี
สุพรรณบุรี กาญจนบุรี
ไทรโยค และสวานโปง
ทั้งหมดเคลื่อนที่ออกจาก กรุงอังวะ
 
การเคลื่อนที่
 
เคลื่อนที่ไปสมทบกับกำลังส่วนหนึ่ง ซึ่งเกณฑ์จากหงสาวดี เมาะตะมะ ตะนาวศรี มะริด ทวาย รวมได้ 30,000 คน
ออกจากอังวะ มีนาคม 2307
กำหนดการเคลื่อนที่
ออกจากทวาย 25 กันยายน พ.ศ.2308

5. กองทัพทั้งสองเริ่มเคลื่อนที่ห่างกันถึง 6 เดือน เพราะมีภารกิจและระยะทางต่างกัน โดยคิดว่าจะให้มาประสาน ณ ที่หมายพร้อมๆ กัน

ข้อพิจารณา
1. สาเหตุที่เกิดสงคราม
               – ฝ่ายพม่า ตามเอกสารว่าพระเจ้ามังระโปรดให้เตรียมการตีกรุงศรีอยุธยาล่วงหน้าเป็นเวลานานแล้ว
               – ฝ่ายไทย กล่าวว่าไม่ปรากฏเหตุอย่างอื่น นอกจากว่าพม่าเห็นว่าไทยอ่อนแอ
               – สาเหตุของทั้งสองฝ่ายสอดคล้องกัน ฝ่ายพม่าอยากมาตีไทย ฝ่ายไทยอ่อนแอ ดังนั้นพม่าจึงมาตีไทย

2. การปฏิบัติการของกองทัพพม่าในครั้งนี้เป็นการปล้นสะดม เกือบจะเป็นธรรมดาในสงครามในสมัยนั้น ที่จะมีทหาร หน่วยเล็กๆ แตกแถวไปประพฤติผิดแปลกไปในทางที่ร้ายบ้าง แต่ก็คงมิใช่เป็นไปตามคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชาชั้นสูงๆ แน่ แต่ในคราวนี้กองทัพพม่าปฏิบัติการเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า ปล้นสะดม เหมือนกันทั้งสองกองทัพ ที่ออกปฏิบัติการ ต่างวาระกัน อีกทั้งในภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า Raid ในการปฏิบัติการ ครั้งนี้ด้วย ดังนั้นจึงลงความเห็นได้ว่าการปฏิบัติของกองทัพในครั้งนั้น เป็นการปล้นจริงดังที่ได้ยืนยันทั้งสองฝ่าย ทั้งไทยและเทศ

การปฏิบัติของกองทัพพม่าคงจะร้ายกาจจริง และคงเป็นที่พระเจ้ามังระสั่งการลงมาและรู้อยู่แก่ใจว่าร้ายจริง พระองค์ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบการรบจึงมิได้เสด็จมาเป็นเกียรติในการรบครั้งนี้ด้วย ยากที่จะพิจารณาเป็นอย่างอื่นได้

การเคลื่อนที่ เคลื่อนที่เลยลงมาตีกรุงศรีอยุธยา ชั้นแรกพม่าตั้งใจแต่เพียงปล้นตามหัวเมืองไทย ( หรือการตีโฉบฉวย ซึ่งเป็นการปฏิบัติการที่ปกติแล้วมีขนาดย่อม โดยส่งกำลังฝ่าเข้าไปในดินแดนข้าศึกอย่างรวดเร็ว เพื่อหาข่าว ก่อความไม่สงบหรือการปฏิบัติการทำลาย เมื่อเสร็จภารกิจก็ถอนตัวกลับ ) แต่ละกองทัพตีได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น กองทัพทั้งสองจึงเป็นอิสระแก่กัน แต่ไทยคงจะอ่อนแอมากพม่าจึงได้ใจ กองทัพทั้งสองจึงเลยเข้ามาตีจนถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นการปฏิบัติการที่ไม่ดี พระเจ้ามังระจึงมิได้เสด็จมาเป็นเกียรติอย่างทัพกษัตริย์

พงศาวดารพม่ากล่าวว่า สาเหตุที่พระเจ้ามังระเสด็จเป็นจอมทัพเข้ามา ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้นั้น แต่แรกก็เป็นเรื่องหยุมหยิมทางพรมแดนระหว่างพม่ากับจีน เมื่อพ่อค้าจีนคนหนึ่งนำสินค้าเข้ามาขายทางเมืองบ้านหม้อ ในแคว้นไทยใหญ่ สินค้าถูกเจ้าหน้าที่พม่าลักขโมย เมื่อไปฟ้องร้องผู้ควบคุมเมืองบ้านหม้อก็ไม่ได้ของคืน จึงนำเรื่องราวไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่จีนแคว้นยูนาน ยังมีพ่อค้าจีนอีกคนหนึ่งนำสินค้าเข้ามาขายที่เมืองเชียงตุง แต่เจ้าหน้าที่พม่าซื้อสินค้าแล้วไม่ยอมชำระเงิน เกิดมีปากเสียงกัน ฝ่ายคนจีนถูกฆ่าตายคนหนึ่ง ก็นำเรื่องราวไปร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่จีนในมณฑลยูนาน แต่พวกเจ้าฟ้าไทยใหญ่ที่ลี้ภัยอยู่ ณ มณฑลยูนานกระพือเรื่องให้ใหญ่ขึ้น เจ้าหน้าที่มณฑลยูนานจึงนำเรื่องขึ้นทูลเสนอพระจักรพรรดิเขียนหลงๆ ทรงมีบัญชาให้นำทัพเข้าไปตีเมืองเชียงตุงเป็นการตอบแทนที่ฝ่ายจีนต้องเสียชีวิต

ทางกรุงอังวะจึงได้ส่งอะแซหวุ่นกี้ (หวุ่นขยีมหาสีหสุระ) ให้คุมทหาร 20,000 คน ออกมาขับไล่ทัพจีน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2309 (ความจริงทัพของอะแซหวุ่นกี้เป็นทัพที่ 2 เพราะทัพแรกปฏิบัติไม่ได้ผล) ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ตอนที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาและอยู่ค้างฝนไม่ยอมถอยทัพกลับดังเช่นแต่ก่อน

ส่วนจีนส่งกองทัพมารบกับพม่าถึง 4 ครั้ง สองครั้งที่จีนต้องถอยทัพกลับไป ครั้งที่สาม จีนส่งกองทัพใหญ่เข้ามาบุกรุกอาณาเขตพม่าในเดือนธันวาคม พ.ศ.2310 (ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทย คือ เดือนเมษายน พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาแตก ส่วนเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2310 เจ้าตากก็ขับไล่พม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นให้แตกพ่ายไป) ทัพจีนครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 มีจำนวนพลมากมาย ในครั้งที่ 4 นี้ อะแซหวุ่นกี้ต้องใช้วิริยะอุตสาหะตีตัดกำลังกองทัพจีนและล้อมจีนไว้ได้ จนแม่ทัพจีนต้องส่งคนออกมาเจรจา สงบศึก พม่ายอมออมชอม จึงตกลงทำสัญญาสันติภาพยอมให้ทหารจีน พร้อมด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ออกไป นอกอาณาเขต พม่าได้โดยปลอดภัย สงครามระหว่างจีนกับพม่าจึงจบลง (ขจร สุขพานิช, 2545 : 265-271)
ฝ่ายไทยจึงลำดับขั้นในการปฏิบัติในการทำสงครามขั้นแรกนี้ว่า กองโจรปล้นสะดมหัวเมืองต่างๆ ให้สมกับการปฏิบัติของกองทัพพม่า

สิ่งที่พม่าปล้นเอาไปได้ บางชิ้นยังอยู่ในพม่าตราบเท่าทุกวันนี้ พม่ามิได้คิดว่าเป็นการประจานการกระทำของตน อาจคิดว่าเป็นสิ่งของที่ได้มาจากการรบด้วยความชอบธรรมก็เป็นได้

3. เราได้ทราบแล้วว่า การกระทำอย่างกล้าหาญของพระเจ้าอลองพญาคือ การบุกรุกไทย คราวนี้ขอให้พิจารณาถึงรุ่นลูกต่อไปด้วย

พระเจ้ามังระ ก่อนขึ้นครองราชย์ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า “ ด้วยเหตุไม่ เห็นชอบด้วยกับการขึ้นครองราชย์บัลลังก์พม่าของพระเชษฐา พระองค์ต้องการที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง เพราะทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะตีพระนครศรีอยุธยาให้ได้ ”

เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราโชบายแผ่พระเดชานุภาพสร้างจักรวรรดิให้เหมือนครั้งพระเจ้าบุเรงนอง ดังปรากฏว่า “ วัตถุประสงค์ของมังระที่ปราบกรุงศรีอยุธยาย่อมเป็นที่รู้ดีอยู่แล้วสำหรับคนไทย ซึ่งจะสงบเสียไม่ได้เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติพม่า ”

เมื่อพิจารณาดูแล้ว ความประสงค์ของพม่าที่จะตีกรุงศรีอยุธยานั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะพระเจ้าอลองพญาระยะหนึ่ง แล้วก็มาเกิดแก่พระเจ้ามังระอีกระยะหนึ่ง แต่มันเป็นความประสงค์ที่ต่อเนื่องกันจากพ่อถึงลูกสองชั่วอายุคนนั่นทีเดียว ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ( จรรยา ประชิตโรมรัน , 2536 : 50-57) และศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ (2527 : 40) วิเคราะห์ไว้ดังนี้

“… พงศาวดารหอแก้วพรรณนาเหตุการณ์เกี่ยวกับมังระ แต่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างยืดยาวมาก พิมพ์ได้ถึง 40 หน้ากระดาษ แต่พอที่จะสรุปได้ตามที่เซอร์ อาเธอร์ แฟร์ ได้เขียนไว้ดังนี้ : มังระได้รับกำลังวังชาและความถนัดทางทหารเป็นมรดกมาจากพระบิดา ( อลองพญา ) และในไม่ช้า ภายหลังการขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงเตรียมการที่ จะตีกรุงศรีอยุธยาเพื่อแก้แค้นแทนพระเจ้าอลองพญาที่ถูกไทยสบประมาท โดยเพิ่มทหาร 20,000 คนให้แก่ เนเมียวสีหบดี (Nemyo Thihapate) เป็นแม่ทัพใหญ่เรียกว่า กองทัพฝ่ายเหนือ เนเมียวสีหบดีนี้ ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เรียกว่า โปสุพลา (สังข์ พัธโนทัย, ม.ป.ป. : 130)

3.5 การปฏิบัติการของเนมียวสีหบดี แม่ทัพใหญ่ของกองทัพพม่าฝ่ายเหนือเป็นอย่างไร ?

เนเมียวสีหบดีไปถึง เชียงใหม่ ก็ปราบปรามทั่วทั้งแคว้นอย่างราบคาบ เชียงใหม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชา และเพื่อมิให้ถูกตลบหลังก็ยกไปบุก ล้านช้าง ซึ่งกษัตริย์ล้านช้างผู้ทรงนำทัพเองพ่ายแพ้อย่างยับเยินทรงยินยอมเป็นประเทศราชของพม่า หลังจากนั้นแม่ทัพพม่าก็เข้าควบคุมเมืองไทยใหญ่ สั่งให้เตรียมอาวุธให้กองทัพ กลางเดือนสิงหาคมปีนั้นเนเมียวสีหบดีก็มีกำลังพลถึง 40,000 คน ส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่ จึงยกทัพมุ่งใต้สู่เมืองตากเป็นที่หมายแรก

การรบ เมืองตาก เจ้าเมืองตากเห็นว่า ข้าศึกมีกำลังมากก็ตั้งรับอยู่ในเมือง ทหารพม่าก็ทำการรบอย่างห้าวหาญและสามารถยึดเมืองตากได้ในระยะเวลาอันสั้น  จากนั้นก็เคลื่อนที่ไปยังเมืองระแหง พม่ายึดเมืองระแหงได้ เพราะเจ้าเมืองยอมอ่อนน้อม เมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นอีกเมืองหนึ่งที่พม่ายึดได้อย่างง่าย  จากนั้นพม่าก็เคลื่อนที่ไปยังลุ่มแม่น้ำยมเพื่อเข้าตีเมืองสวรรคโลก เจ้าเมืองสวรรคโลกเตรียมการต่อสู้ไว้อย่างเข้มแข็งเป็นเหตุต้องให้พม่าใช้กำลังเข้าปฏิบัติการ ซึ่งในที่สุดก็ยึดได้ ต่อจากนั้นก็เคลื่อนที่ลงไปยังสุโขทัย เจ้าเมืองยอมอ่อนน้อมโดยดี ต่อจากนั้นก็ตรงไปยังเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกมีป้อมปราการแข็งแรงไม่ยอมอ่อนน้อมง่ายๆ พม่าต้องใช้กำลังเข้าตีอีกจึงยึดเมืองได้

การจัดกำลังของกองทัพเนเมียวสีหบดี

———————–

กองทัพบก

กองทัพเรือ 

———————–

กองหลัง(กองหนุน)

จำนวนกอง

ช้าง

ม้า

ทหาร

แม่ทัพ

10 (จำนวน 9 กอง เป็น กำลังที่เกณฑ์ มาจากหัวเมืองต่างๆ พม่ากำกับไปหนึ่งกอง)

100

300

8,000

สิริราชาตะจาน

15 (จำนวน 14 กอง เกณฑ์มาจากหัวเมืองต่างๆ พม่ากำกับไปหนึ่งกอง)

200

700

12,000

ตะโดเมงเทง

20

เรือ 300 ลำ

คุงเชงยามะจอ

13

เนเมียวสีหบดี

รวม 58 กอง ช้าง 300 เชือก ม้า 1,000 ตัว ทหาร 43,000 คน การเคลื่อนที่ ทั้งหมดเคลื่อนที่ออกจากลำปางในเดือนกันยายน พ.ศ. 2308 ที่หมายแห่งแรก เมืองตาก พิษณุโลก

การจัดระเบียบใหม่
เนเมียวสีหบดีหยุดที่พิษณุโลกเป็นเวลา 10 วัน เพื่อเพิ่มเติมกำลัง ช้างม้า และทหารก่อนที่จะออกปฏิบัติการต่อไป

การจัดกำลังใหม่ หลังจากที่เนเมียวสีหบดียึดเมืองพิษณุโลกได้แล้ว ก็จัดกำลัง 2 ส่วน แต่ละส่วนประกอบด้วยกำลัง 10 กอง ภายใต้การบังคับบัญชาของสิริราชะตะจาน และจอคองจอดู โดยมอบภารกิจให้กำลังทั้งสองส่วนตีจ่อลงมาทางใต้ นครสวรรค์และอ่างทอง ส่วนตัวเนเมียวสีหบดีคงตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เจ้าเมืองต่างๆ ของไทยมิได้คิดต่อสู้ ยอมจัดส่งช้าง ม้าและอาวุธ ยุทธภัณฑ์ให้แก่พม่าโดยดี ผู้บังคับกองกำลังทั้ง 2 ส่วนก็นำเจ้าเมืองและญาติพี่น้องส่งไปยังเนเมียวสีหบดีที่พิษณุโลก

(ภาพจากหนังสือการเสียกรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ.2310)

ข้อพิจารณา
ทางด้านทิศเหนือ กองทัพของเนเมียวสีหบดี เคลื่อนที่ออกจากลำปางเพื่อจัดการกับหัวเมืองนั้น ในจำนวนหัวเมืองเหนือ 6 เมือง มีการต่อสู้ 3 เมือง ยอมอ่อนน้อม 3 เมือง ดังนี้
เมืองที่ทำการต่อสู้มี เมืองตาก สวรรคโลก กำแพงเพชร และพิษณุโลก เมืองที่ยอมอ่อนน้อมมี เมืองระแหง กำแพงเพชร และสุโขทัย สรุปแล้วมีเมืองที่ทำการต่อสู้และอ่อนน้อมครึ่งต่อครึ่ง       จากนั้นเนเมียวสีหบดีก็จัดกำลังกองระวังหน้าหรือส่วนหน้าสองกองลงมาปฏิบัติจนถึงนครสวรรค์และอ่างทอง

เมืองต่างๆ ของไทย เข้าใจว่าถูกเกณฑ์ไปช่วยราชการในพระนครเสียเป็นจำนวนมากแล้ว กองทัพไทยตามหัวเมืองดังกล่าวออกมาต่อต้าน แต่ก็ทานกำลังไม่ไหวพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เนเมียว สีหบดีเดินทัพต่อมาตามลำน้ำ รวบรวมเสบียงอาหาร และทำลายบ้านเมืองไทยบ้างระหว่างทาง แต่เพียงเป็นการข่มขวัญไทย ไม่ให้ยกกองทัพตามหลังทัพพม่า แต่ไทยก็ไม่สามารถรวมกำลังกันต่อต้านพม่าอยู่แล้ว เพราะหลังเสร็จศึกอลองมินตยาคยีแล้ว ไทยมิได้เตรียมรับศึกแต่อย่างไร แม้พม่าจะว่างเว้นไม่ได้รุกรานอยู่ถึง 5 ปี พม่าจากทางเหนือมาตั้งมั่นทาง ทิศตะวันออก ของกรุงศรีอยุธยาประมาณวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2309 ( บริเวณ ปากน้ำประสบ ห่างจากรุงศรีอยุธยา 2 กิโลเมตร ) …”

3.6 กองทัพพม่าฝ่ายใต้ของมังมหานรธา ปฏิบัติการอย่างไรบ้าง ?

กองทัพของ มังมหานรธา (Maha Norahta) เป็นแม่ทัพใหญ่เรียกว่า กองทัพฝ่ายใต้ มีกำลังพล 20,000 คน เคลื่อนจาก เมาะตะมะ ไปยังเมือง ทวาย และรออยู่ที่ทวายจนสิ้นฤดูฝน พ.ศ.2308 จากนั้นคุมทัพรุกลงมาทาง เมืองมะริด ข้ามทิว ภูเขาตะนาวศรี ยกเข้าตี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี แล้วผ่านเมืองชายทะเลของไทยได้แก่ กุย ปราณ เพชรบุรี ราชบุรี แล้วตัดขึ้นเหนือมุ่งไปกรุงศรีอยุธยา โดยใช้เวลาน้อยกว่าสมัยพระเจ้าอลองพญา แต่ระหว่างทางได้พักทัพเพื่อรวบรวมเสบียง ที่เพชรบุรีก็มีกองทัพไทยยกออกไปต่อต้าน แต่ไม่มีกำลังมากนัก

การรบ เจ้าเมืองเพชรบุรีทราบว่าพม่ายกทัพมาเป็นจำนวนมาก จึงตั้งรับอยู่ในเมือง เมื่อกองทัพพม่ามาถึงก็แบ่งกำลังเข้าตีเมืองออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งใช้บันไดปีนกำแพง อีกส่วนหนึ่งเข้าขุดเจาะรากฐานกำแพง พม่าสามารถตีเมืองได้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ เมื่อเข้าเมืองได้แล้วก็ปล้นเมือง ทหารผู้ใดยึดหรือจับข้าวของเงินทองได้ก็ตกเป็นของผู้นั้น ส่วนยุทโธปกรณ์ตกเป็นของนายทัพ พม่าได้ปฏิบัติการดังนี้ทุกเมืองที่ไม่ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี หลังจากพม่าจับได้ ก็ให้เจ้าเมืองกรมการเมืองถือน้ำสาบานและตั้งกองประจำการเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็เคลื่อนทัพตรงไปยังเมืองราชบุรี

เมื่อเจ้าเมืองราชบุรีทราบว่าเมืองเพชรบุรีเสียแก่พม่าแล้ว ก็ยอมอ่อนน้อมแก่พม่าโดยดี พม่าก็ให้เจ้าเมืองและกรมการเมืองจัดการสาบานตามระเบียบ จากนั้นก็เคลื่อนที่เข้าตีเมืองสุพรรณบุรีต่อไป เจ้าเมืองสุพรรณบุรียอมอ่อนน้อมต่อพม่าเช่นเดียวกับเจ้าเมืองเพชรบุรี จึงได้เมืองสุพรรณบุรีโดยสะดวก

จากเมืองสุพรรณบุรี พม่าวกไปทางทิศตะวันตกเพื่อตีเมืองกาญจนบุรี เมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองที่เข้มแข็งทั้งกำลังอาวุธและเสบียงอาหาร เจ้าเมืองจึงตั้งรับพม่าอยู่ในเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม แต่เมืองกาญจนบุรีก็ไม่สามารถต้านทานพม่าที่มีกำลังมากกว่าได้ จึงต้องเสียเมืองไปในที่สุด จากเมืองกาญจนบุรีพม่าเคลื่อนที่ต่อไปยังเมืองไทรโยค แล้วก็ตีเมืองอีกสองเมืองซึ่งชื่อเมืองสวานโปงและเมืองซาเลง ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นเมืองใดของไทยแน่

เมื่อได้เมืองทั้งเจ็ดแล้วก็จัดทัพจากเมืองต่างๆ ทั้ง 7 เมืองดังกล่าวได้ 7 กอง ให้เมงจิ กามะ-ณีสานดะ คุมไปเป็นทัพหน้า ตัวมังมหานรธาคุมทัพหลวงตามไปอีก 50 กอง รวม 57 กองมุ่งไปยัง กรุงศรีอยุธยา (จรรยา ประชิตโรมรัน, 2536 : 76-81) และทำการรบอย่างรุนแรงกับกองทัพไทย กองทัพไทยพ่ายแพ้ ครั้นถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของมังมหานรธาได้ยกมาตั้งมั่นอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรุงศรีอยุธยา ( นอกเกาะอยุธยาแถบ ทุ่งภูเขาทอง ห่างจากอยุธยาไม่เกิน 3 กิโลเมตร ) กองทัพทั้งสองของพม่าติดต่อประสานงานกันอย่างดี … ” (ชูสิริ จามรมาน , 2527 : 64)

หมายเหตุ

  • 1. พ.ต.ต. พิศาล เสนะเวส (2515 : 311) อธิบายคำว่า มังมหานรธา ว่าเป็นชื่อของตำแหน่งขุนนางพม่า ไม่ใช่ชื่อตัว หนังสือ “ ไทยรบพม่า ” ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุว่า มังมหานรธาคนนี้ชื่อ มังละศิริ และได้อธิบายคำว่า เนเมียวสีหบดี เช่นกันว่าเป็นชื่อตำแหน่งขุนนางพม่าเป็นแม่ทัพผู้ตีกรุงศรีอยุธยาแตก แต่ไม่ได้บอกว่ามีชื่อจริงอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ ขจร สุขพานิช (2545 : 263) ระบุว่า เนเมียวสีหบดี เดิมชื่อ อภัยคามินี

หนังสือสาระน่ารู้กรุงธนบุรี ของมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม (2543 :147) กล่าวถึงตำแหน่งของเนเมียวสีหบดีว่า โปสุพลา อันเป็นชื่อตำแหน่งยศแม่ทัพพม่า ปรากฏเหตุการณ์ในพงศาวดารพม่าตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2310 ( พม่าเรียกว่า เนเมียวสีหบดี ) และมาปรากฏในพงศาวดารอีกใน พ.ศ. 2314 เมื่อเจ้าสุริยวงศ์เจ้าเมืองหลวงพระบางเกิดวิวาทกับเจ้าสิริบุญสารเจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าสิริบุญสารจึงขอให้พระเจ้ามังระยกกองทัพมาช่วย พระเจ้ามังระจึงให้ชิกชิงโบเป็นกองหน้า โปสุพลาเป็นแม่ทัพคุมพลมาช่วยเวียงจันทน์ โปสุพลายกทัพไปตีหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงศ์สู้ไม่ได้ยอมอ่อนน้อม จากนั้นพระเจ้ามังระโปรดฯ ให้โปสุพลายกทัพมาตั้งมั่นที่เชียงใหม่ เพื่อป้องกันกองทัพไทย ต่อมาในพ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย หลังจากที่ชิกชิงโบเคยยกมาแล้วแต่ไม่สำเร็จ ในครั้งนั้นโปสุพลาก็พ่ายแพ้แก่เจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยาพิชัยกลับไปเช่นกัน

  • 2. เส้นทางเดินทัพพม่า เวลาพม่าเดินทัพเข้าตีไทย เท่าที่ปรากฏมักจะเข้าสู่ไทยได้ 4 ทางคือ
              1) เข้าทางเชียงใหม่
              2) เข้าทางด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก
              3) เข้าทางพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี
              4) เข้าทางด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ต.ต. พิศาล เสนะเวส , 2515 : 321)